วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทพิสูจน์ทายาทมาลีสามพราน - 9Zean - WiFiNews




บทพิสูจน์ทายาทมาลีสามพราน
เพิ่มสัดส่วนรายได้เออีซี50%


เมื่อพูดถึงแบรนด์น้ำผลไม้ชื่อดังของไทย ชื่อแรก ๆ ที่นึกถึงคงหนีไม่พ้นยี่ห้อ “มาลี” ซึ่งเป็นที่รู้จักและติดปากคนไทยมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นเครื่องดื่มประจำครอบครัวกันไปแล้ว และยังสามารถครองใจผู้บริโภคไว้ได้ตลอด โดยเคล็ดลับที่ชิงพื้นที่ในใจผู้บริโภคมานานอยู่ที่กลยุทธ์ในการบริหาร ตั้งแต่รุ่นพ่อ “ฉัตรชัย บุญรัตน์” ผู้ปลุกปั้นแบรนด์น้ำผลไม้มาลี ให้เป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว


จนเมื่อมาถึงรุ่นลูกอย่าง “รุ่งฉัตร บุญรัตน์” กรรมการและรองผู้จัดการใหญ่ สายการขายและการตลาด บริษัท มาลีสามพราน ที่มารับไม้ดูแลต่อ จึงต้องรับศึกหนักว่าจะทำอย่างไร? ให้มาลีเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวต่อไป ในขณะที่ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนลูกค้าที่มาลีครองใจได้เริ่มล้มหายไปบ้างแล้ว


“รุ่งฉัตร” บอกว่า ในช่วงแรกที่เข้ามาดูแล ค่อนข้างกังวลว่าจะทำได้ไม่ดี จึงเริ่มต้นจากงานเล็ก ๆ เพื่อฝึกฝีมือ โจทย์แรกที่ได้รับมาคือให้รุกทำตลาดในประเทศ เมื่อได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ โดยบิดา คือ “ฉัตรชัย” จึงวางใจและเริ่มให้ดูแลเรื่องการส่งออก ที่มีความท้าทายมากขึ้นเพราะเป็นสัดส่วนทำรายได้หลักของบริษัทที่สูงถึง 70% ทีเดียว เรียกได้ว่า ณ เวลานี้ ได้ดูแลเกือบทุกภาคส่วนแล้ว


“เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เริ่มเข้ามาช่วยบริหาร สิ่งแรกที่ทำคือการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ เพื่อยึดพื้นที่ในใจผู้บริโภคให้ได้ เพราะตอนนี้คนที่มีกำลังซื้อ เริ่มสลับขึ้นมาเป็นยุคใหม่แล้ว ดังนั้นต้องปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ดูทันสมัยขึ้น รวมถึงการแตกไลน์สินค้าใหม่ให้เข้ากระแสนิยม ซึ่งทำให้ขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และยังรักษาคุณภาพเพื่อดึงลูกค้าเดิมให้รักและเลือกซื้อแบรนด์มาลีต่อไป”


ที่ผ่านมาหลังทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง “รุ่งฉัตร” เข้ามาบริหารงาน ด้วยภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับคอนเซปต์ใหม่เป็น “มาลีรู้ดีเรื่องผลไม้” จากนั้น เริ่มออกสินค้ากลุ่มใหม่ที่เจาะวัยรุ่นมากขึ้น ทั้ง “มาลีไลท์” น้ำผลไม้แคลอรีต่ำ เหมาะสำหรับสาวที่ดูแลรูปร่าง, “มาลี นิวเทรียน” เครื่องดื่มธัญพืช หรือ “มาลี ทรอปิเคิล” น้ำผลไม้จากสมุนไพรต่าง ๆ ซึ่งก็ทำให้มาลีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดน้ำผลไม้ได้อย่างภาคภูมิ ด้วยส่วนแบ่ง 42% และทิ้งห่างเบอร์สองแทบไม่เห็นฝุ่น จากก่อนหน้านี้ที่รั้งตำแหน่งเบอร์สองมายาวนาน


จนถึงขณะนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ผู้เป็นบิดามั่นใจ และพร้อมมอบโจทย์ใหม่ ในการผลักดันรายได้ของบริษัทจากในไตรมาสที่ 3 ปีก่อน ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท ให้ขึ้นมาอยู่ในระดับ “หมื่นล้านบาท” ให้ได้ ภายในปี 62 หรืออีกเพียง 4 ปีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นความท้าทาย!!


สำหรับแผนการรุกธุรกิจเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ ทำอย่างไร? ให้รายได้สามารถเติบโตต่อเนื่องได้ที่ 10% ไปเรื่อย ๆ ซึ่งกุญแจสำคัญคือ… การทำตลาดประเทศให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือซีแอลเอ็มวี ที่ให้น้ำหนักมากเป็นพิเศษ เพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีอัตราการเติบโตของชนชั้นกลางสูง และเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในช่วงปลายปี ยิ่งส่งเสริมให้การค้าขายระหว่างกันคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายในใจต้องการให้รายได้จากตลาดเออีซีขึ้นมาเป็นสัดส่วนสัก 50% ของรายได้จากปัจจุบันที่มีเพียง 20% เท่านั้น


สิทธิลดหย่อนด้านภาษี จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีที่สุด ที่มาเสริมให้ศักยภาพการแข่งขันกับแบรนด์ท้องถิ่นมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาถูกลงจากปัจจุบันที่กดดันด้วยปัญหาด้านภาษีทำให้ราคาสินค้าสูงกว่าแบรนด์คู่แข่งมาก โดยน้ำผลไม้ที่จะนำเข้าไปขายในประเทศเหล่านี้ จำเป็นจะต้องปรับสูตรใหม่ ให้เหมาะกับลิ้นของคนแต่ละที่ เพื่อให้สินค้าติดตลาดได้ง่าย และจะเป็นน้ำผลไม้ในราคาย่อมเยาลงมา มีความเข้มข้นน้อยกว่าในไทย เช่น น้ำผลไม้เข้มข้น 20% เป็นต้น ซึ่งก็เป็นตามรสนิยมของคนในประเทศดังกล่าว


ส่วนการทำตลาดในประเทศที่นำสินค้าเข้าไปจำหน่ายอยู่แล้ว จะถูกปรับระบบการบริหารใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการทำตลาดของแต่ละประเทศมากขึ้น ผ่านทีมงานที่ส่งตรงจากไทยเข้าไปดูแลโดยเฉพาะ จากเดิมที่จะให้ตัวแทนจำหน่ายของประเทศนั้น ๆ เป็นผู้บริหารจัดการเอง ทั้งนี้เพราะเห็นถึงความสำคัญกับการรุกตลาดแต่ละประเทศอย่างจริงจังว่าจะสามารถดันยอดขายได้ดีกว่าการทำตลาดหลายประเทศแบบไม่เจาะจง


“เวลานี้ยอมรับว่าไม่ต้องการทำตลาดประเทศใหม่ ๆ มากนัก แต่ต้องการรักษาตลาดเดิมให้แข็งแกร่งซึ่งน่าจะดีกว่า เพราะยึดคติพจน์การทำงานที่ว่า จะรุกตลาดอย่างพอเพียง ไม่เสี่ยง แต่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา”


ขณะที่ตลาดในประเทศ เตรียมออกสินค้ากลุ่มใหม่ เพื่อขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่อาจลดความถี่ลงและเริ่มทำตลาดกับสินค้าที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เพราะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มขยายพอร์ตสินค้าออกมาครอบคลุมในหลายกลุ่มแล้ว โดยสินค้าที่ออกใหม่ยังอยู่ภายใต้กลุ่มเดิมแต่เป็นรสชาติใหม่เท่านั้น


อย่างไรก็ตาม… แม้ตลาดน้ำผลไม้ในประเทศไม่ได้เติบโตหวือหวา หรือแข่งขันกันรุนแรง แต่เชื่อว่าตลาดยังสามารถเติบโตเช่นนี้ได้เรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเพราะกระแสการดูแลสุขภาพที่กำลังมาแรง ประกอบกับอัตราการบริโภคน้ำผลไม้ของคนไทยยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะแข่งกันสรรหาสินค้าที่ตอบโจทย์และผลักดันให้คนบริโภคน้ำผลไม้มากขึ้นต่อไป


“แม้ไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดน้ำผลไม้จะเติบโตน้อยลงที่ 2-4% จากอดีตที่เคยโตกว่า 10% แต่ก็เชื่อว่าจะยังคงรักษาระดับไว้ที่เท่านี้ได้ ซึ่งก็ถือว่ายังไม่แย่ หากตลาดยังคงเดินหน้าแข่งขันกันพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามาสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นตัวดึงดูดให้คนดื่มน้ำผลไม้มากขึ้น หรือดึงคนที่ไม่นิยมดื่มน้ำผลไม้ให้สนใจที่จะดื่มด้วย คล้ายกับที่มาลีทำมาก่อนหน้านี้ด้วยการออกน้ำผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ ที่ช่วยเรียกคนที่กลัวอ้วนให้ดื่มน้ำผลไม้กันเพิ่มขึ้น”


แน่นอนว่า… สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นโจทย์ที่หินมากกว่าโจทย์อื่น ๆ ที่ผู้เป็นบิดามอบให้แก่ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวน ดังนั้นจึงต้องรอพิสูจน์ต่อไปว่า เมื่อผ่านโจทย์หินหมื่นล้านบาทไปได้แล้ว “มาลี” จะก้าวต่อไปในทิศทางใด และจะสร้างสีสันให้วงการน้ำผลไม้ไทยอย่างไร!!!.


ทีมเศรษฐกิจ



9Zean.Com – WiFiNews

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-03-29 23:00:08




บทพิสูจน์ทายาทมาลีสามพราน - 9Zean - WiFiNews
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/990125.jpeg




บทพิสูจน์ทายาทมาลีสามพราน
เพิ่มสัดส่วนรายได้เออีซี50%


เมื่อพูดถึงแบรนด์น้ำผลไม้ชื่อดังของไทย ชื่อแรก ๆ ที่นึกถึงคงหนีไม่พ้นยี่ห้อ “มาลี” ซึ่งเป็นที่รู้จักและติดปากคนไทยมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นเครื่องดื่มประจำครอบครัวกันไปแล้ว และยังสามารถครองใจผู้บริโภคไว้ได้ตลอด โดยเคล็ดลับที่ชิงพื้นที่ในใจผู้บริโภคมานานอยู่ที่กลยุทธ์ในการบริหาร ตั้งแต่รุ่นพ่อ “ฉัตรชัย บุญรัตน์” ผู้ปลุกปั้นแบรนด์น้ำผลไม้มาลี ให้เป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว


จนเมื่อมาถึงรุ่นลูกอย่าง “รุ่งฉัตร บุญรัตน์” กรรมการและรองผู้จัดการใหญ่ สายการขายและการตลาด บริษัท มาลีสามพราน ที่มารับไม้ดูแลต่อ จึงต้องรับศึกหนักว่าจะทำอย่างไร? ให้มาลีเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวต่อไป ในขณะที่ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนลูกค้าที่มาลีครองใจได้เริ่มล้มหายไปบ้างแล้ว


“รุ่งฉัตร” บอกว่า ในช่วงแรกที่เข้ามาดูแล ค่อนข้างกังวลว่าจะทำได้ไม่ดี จึงเริ่มต้นจากงานเล็ก ๆ เพื่อฝึกฝีมือ โจทย์แรกที่ได้รับมาคือให้รุกทำตลาดในประเทศ เมื่อได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ โดยบิดา คือ “ฉัตรชัย” จึงวางใจและเริ่มให้ดูแลเรื่องการส่งออก ที่มีความท้าทายมากขึ้นเพราะเป็นสัดส่วนทำรายได้หลักของบริษัทที่สูงถึง 70% ทีเดียว เรียกได้ว่า ณ เวลานี้ ได้ดูแลเกือบทุกภาคส่วนแล้ว


“เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เริ่มเข้ามาช่วยบริหาร สิ่งแรกที่ทำคือการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ เพื่อยึดพื้นที่ในใจผู้บริโภคให้ได้ เพราะตอนนี้คนที่มีกำลังซื้อ เริ่มสลับขึ้นมาเป็นยุคใหม่แล้ว ดังนั้นต้องปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ดูทันสมัยขึ้น รวมถึงการแตกไลน์สินค้าใหม่ให้เข้ากระแสนิยม ซึ่งทำให้ขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และยังรักษาคุณภาพเพื่อดึงลูกค้าเดิมให้รักและเลือกซื้อแบรนด์มาลีต่อไป”


ที่ผ่านมาหลังทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง “รุ่งฉัตร” เข้ามาบริหารงาน ด้วยภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับคอนเซปต์ใหม่เป็น “มาลีรู้ดีเรื่องผลไม้” จากนั้น เริ่มออกสินค้ากลุ่มใหม่ที่เจาะวัยรุ่นมากขึ้น ทั้ง “มาลีไลท์” น้ำผลไม้แคลอรีต่ำ เหมาะสำหรับสาวที่ดูแลรูปร่าง, “มาลี นิวเทรียน” เครื่องดื่มธัญพืช หรือ “มาลี ทรอปิเคิล” น้ำผลไม้จากสมุนไพรต่าง ๆ ซึ่งก็ทำให้มาลีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดน้ำผลไม้ได้อย่างภาคภูมิ ด้วยส่วนแบ่ง 42% และทิ้งห่างเบอร์สองแทบไม่เห็นฝุ่น จากก่อนหน้านี้ที่รั้งตำแหน่งเบอร์สองมายาวนาน


จนถึงขณะนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ผู้เป็นบิดามั่นใจ และพร้อมมอบโจทย์ใหม่ ในการผลักดันรายได้ของบริษัทจากในไตรมาสที่ 3 ปีก่อน ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท ให้ขึ้นมาอยู่ในระดับ “หมื่นล้านบาท” ให้ได้ ภายในปี 62 หรืออีกเพียง 4 ปีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นความท้าทาย!!


สำหรับแผนการรุกธุรกิจเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ ทำอย่างไร? ให้รายได้สามารถเติบโตต่อเนื่องได้ที่ 10% ไปเรื่อย ๆ ซึ่งกุญแจสำคัญคือ… การทำตลาดประเทศให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือซีแอลเอ็มวี ที่ให้น้ำหนักมากเป็นพิเศษ เพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีอัตราการเติบโตของชนชั้นกลางสูง และเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในช่วงปลายปี ยิ่งส่งเสริมให้การค้าขายระหว่างกันคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายในใจต้องการให้รายได้จากตลาดเออีซีขึ้นมาเป็นสัดส่วนสัก 50% ของรายได้จากปัจจุบันที่มีเพียง 20% เท่านั้น


สิทธิลดหย่อนด้านภาษี จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีที่สุด ที่มาเสริมให้ศักยภาพการแข่งขันกับแบรนด์ท้องถิ่นมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาถูกลงจากปัจจุบันที่กดดันด้วยปัญหาด้านภาษีทำให้ราคาสินค้าสูงกว่าแบรนด์คู่แข่งมาก โดยน้ำผลไม้ที่จะนำเข้าไปขายในประเทศเหล่านี้ จำเป็นจะต้องปรับสูตรใหม่ ให้เหมาะกับลิ้นของคนแต่ละที่ เพื่อให้สินค้าติดตลาดได้ง่าย และจะเป็นน้ำผลไม้ในราคาย่อมเยาลงมา มีความเข้มข้นน้อยกว่าในไทย เช่น น้ำผลไม้เข้มข้น 20% เป็นต้น ซึ่งก็เป็นตามรสนิยมของคนในประเทศดังกล่าว


ส่วนการทำตลาดในประเทศที่นำสินค้าเข้าไปจำหน่ายอยู่แล้ว จะถูกปรับระบบการบริหารใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการทำตลาดของแต่ละประเทศมากขึ้น ผ่านทีมงานที่ส่งตรงจากไทยเข้าไปดูแลโดยเฉพาะ จากเดิมที่จะให้ตัวแทนจำหน่ายของประเทศนั้น ๆ เป็นผู้บริหารจัดการเอง ทั้งนี้เพราะเห็นถึงความสำคัญกับการรุกตลาดแต่ละประเทศอย่างจริงจังว่าจะสามารถดันยอดขายได้ดีกว่าการทำตลาดหลายประเทศแบบไม่เจาะจง


“เวลานี้ยอมรับว่าไม่ต้องการทำตลาดประเทศใหม่ ๆ มากนัก แต่ต้องการรักษาตลาดเดิมให้แข็งแกร่งซึ่งน่าจะดีกว่า เพราะยึดคติพจน์การทำงานที่ว่า จะรุกตลาดอย่างพอเพียง ไม่เสี่ยง แต่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา”


ขณะที่ตลาดในประเทศ เตรียมออกสินค้ากลุ่มใหม่ เพื่อขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่อาจลดความถี่ลงและเริ่มทำตลาดกับสินค้าที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เพราะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มขยายพอร์ตสินค้าออกมาครอบคลุมในหลายกลุ่มแล้ว โดยสินค้าที่ออกใหม่ยังอยู่ภายใต้กลุ่มเดิมแต่เป็นรสชาติใหม่เท่านั้น


อย่างไรก็ตาม… แม้ตลาดน้ำผลไม้ในประเทศไม่ได้เติบโตหวือหวา หรือแข่งขันกันรุนแรง แต่เชื่อว่าตลาดยังสามารถเติบโตเช่นนี้ได้เรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเพราะกระแสการดูแลสุขภาพที่กำลังมาแรง ประกอบกับอัตราการบริโภคน้ำผลไม้ของคนไทยยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะแข่งกันสรรหาสินค้าที่ตอบโจทย์และผลักดันให้คนบริโภคน้ำผลไม้มากขึ้นต่อไป


“แม้ไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดน้ำผลไม้จะเติบโตน้อยลงที่ 2-4% จากอดีตที่เคยโตกว่า 10% แต่ก็เชื่อว่าจะยังคงรักษาระดับไว้ที่เท่านี้ได้ ซึ่งก็ถือว่ายังไม่แย่ หากตลาดยังคงเดินหน้าแข่งขันกันพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามาสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นตัวดึงดูดให้คนดื่มน้ำผลไม้มากขึ้น หรือดึงคนที่ไม่นิยมดื่มน้ำผลไม้ให้สนใจที่จะดื่มด้วย คล้ายกับที่มาลีทำมาก่อนหน้านี้ด้วยการออกน้ำผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ ที่ช่วยเรียกคนที่กลัวอ้วนให้ดื่มน้ำผลไม้กันเพิ่มขึ้น”


แน่นอนว่า… สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นโจทย์ที่หินมากกว่าโจทย์อื่น ๆ ที่ผู้เป็นบิดามอบให้แก่ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวน ดังนั้นจึงต้องรอพิสูจน์ต่อไปว่า เมื่อผ่านโจทย์หินหมื่นล้านบาทไปได้แล้ว “มาลี” จะก้าวต่อไปในทิศทางใด และจะสร้างสีสันให้วงการน้ำผลไม้ไทยอย่างไร!!!.


ทีมเศรษฐกิจ



9Zean.Com – WiFiNews

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-03-29 23:00:08





บทพิสูจน์ทายาทมาลีสามพราน
เพิ่มสัดส่วนรายได้เออีซี50%

เมื่อพูดถึงแบรนด์น้ำผลไม้ชื่อดังของไทย ชื่อแรก ๆ ที่นึกถึงคงหนีไม่พ้นยี่ห้อ “มาลี” ซึ่งเป็นที่รู้จักและติดปากคนไทยมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นเครื่องดื่มประจำครอบครัวกันไปแล้ว และยังสามารถครองใจผู้บริโภคไว้ได้ตลอด โดยเคล็ดลับที่ชิงพื้นที่ในใจผู้บริโภคมานานอยู่ที่กลยุทธ์ในการบริหาร ตั้งแต่รุ่นพ่อ “ฉัตรชัย บุญรัตน์” ผู้ปลุกปั้นแบรนด์น้ำผลไม้มาลี ให้เป็นเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว

จนเมื่อมาถึงรุ่นลูกอย่าง “รุ่งฉัตร บุญรัตน์” กรรมการและรองผู้จัดการใหญ่ สายการขายและการตลาด บริษัท มาลีสามพราน ที่มารับไม้ดูแลต่อ จึงต้องรับศึกหนักว่าจะทำอย่างไร? ให้มาลีเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวต่อไป ในขณะที่ยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนลูกค้าที่มาลีครองใจได้เริ่มล้มหายไปบ้างแล้ว

“รุ่งฉัตร” บอกว่า ในช่วงแรกที่เข้ามาดูแล ค่อนข้างกังวลว่าจะทำได้ไม่ดี จึงเริ่มต้นจากงานเล็ก ๆ เพื่อฝึกฝีมือ โจทย์แรกที่ได้รับมาคือให้รุกทำตลาดในประเทศ เมื่อได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ โดยบิดา คือ “ฉัตรชัย” จึงวางใจและเริ่มให้ดูแลเรื่องการส่งออก ที่มีความท้าทายมากขึ้นเพราะเป็นสัดส่วนทำรายได้หลักของบริษัทที่สูงถึง 70% ทีเดียว เรียกได้ว่า ณ เวลานี้ ได้ดูแลเกือบทุกภาคส่วนแล้ว

“เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เริ่มเข้ามาช่วยบริหาร สิ่งแรกที่ทำคือการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ เพื่อยึดพื้นที่ในใจผู้บริโภคให้ได้ เพราะตอนนี้คนที่มีกำลังซื้อ เริ่มสลับขึ้นมาเป็นยุคใหม่แล้ว ดังนั้นต้องปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ดูทันสมัยขึ้น รวมถึงการแตกไลน์สินค้าใหม่ให้เข้ากระแสนิยม ซึ่งทำให้ขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และยังรักษาคุณภาพเพื่อดึงลูกค้าเดิมให้รักและเลือกซื้อแบรนด์มาลีต่อไป”

ที่ผ่านมาหลังทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง “รุ่งฉัตร” เข้ามาบริหารงาน ด้วยภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปพร้อมกับคอนเซปต์ใหม่เป็น “มาลีรู้ดีเรื่องผลไม้” จากนั้น เริ่มออกสินค้ากลุ่มใหม่ที่เจาะวัยรุ่นมากขึ้น ทั้ง “มาลีไลท์” น้ำผลไม้แคลอรีต่ำ เหมาะสำหรับสาวที่ดูแลรูปร่าง, “มาลี นิวเทรียน” เครื่องดื่มธัญพืช หรือ “มาลี ทรอปิเคิล” น้ำผลไม้จากสมุนไพรต่าง ๆ ซึ่งก็ทำให้มาลีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดน้ำผลไม้ได้อย่างภาคภูมิ ด้วยส่วนแบ่ง 42% และทิ้งห่างเบอร์สองแทบไม่เห็นฝุ่น จากก่อนหน้านี้ที่รั้งตำแหน่งเบอร์สองมายาวนาน

จนถึงขณะนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ผู้เป็นบิดามั่นใจ และพร้อมมอบโจทย์ใหม่ ในการผลักดันรายได้ของบริษัทจากในไตรมาสที่ 3 ปีก่อน ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท ให้ขึ้นมาอยู่ในระดับ “หมื่นล้านบาท” ให้ได้ ภายในปี 62 หรืออีกเพียง 4 ปีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นความท้าทาย!!

สำหรับแผนการรุกธุรกิจเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ ทำอย่างไร? ให้รายได้สามารถเติบโตต่อเนื่องได้ที่ 10% ไปเรื่อย ๆ ซึ่งกุญแจสำคัญคือ... การทำตลาดประเทศให้เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือซีแอลเอ็มวี ที่ให้น้ำหนักมากเป็นพิเศษ เพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีอัตราการเติบโตของชนชั้นกลางสูง และเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในช่วงปลายปี ยิ่งส่งเสริมให้การค้าขายระหว่างกันคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายในใจต้องการให้รายได้จากตลาดเออีซีขึ้นมาเป็นสัดส่วนสัก 50% ของรายได้จากปัจจุบันที่มีเพียง 20% เท่านั้น

สิทธิลดหย่อนด้านภาษี จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีที่สุด ที่มาเสริมให้ศักยภาพการแข่งขันกับแบรนด์ท้องถิ่นมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาถูกลงจากปัจจุบันที่กดดันด้วยปัญหาด้านภาษีทำให้ราคาสินค้าสูงกว่าแบรนด์คู่แข่งมาก โดยน้ำผลไม้ที่จะนำเข้าไปขายในประเทศเหล่านี้ จำเป็นจะต้องปรับสูตรใหม่ ให้เหมาะกับลิ้นของคนแต่ละที่ เพื่อให้สินค้าติดตลาดได้ง่าย และจะเป็นน้ำผลไม้ในราคาย่อมเยาลงมา มีความเข้มข้นน้อยกว่าในไทย เช่น น้ำผลไม้เข้มข้น 20% เป็นต้น ซึ่งก็เป็นตามรสนิยมของคนในประเทศดังกล่าว

ส่วนการทำตลาดในประเทศที่นำสินค้าเข้าไปจำหน่ายอยู่แล้ว จะถูกปรับระบบการบริหารใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการทำตลาดของแต่ละประเทศมากขึ้น ผ่านทีมงานที่ส่งตรงจากไทยเข้าไปดูแลโดยเฉพาะ จากเดิมที่จะให้ตัวแทนจำหน่ายของประเทศนั้น ๆ เป็นผู้บริหารจัดการเอง ทั้งนี้เพราะเห็นถึงความสำคัญกับการรุกตลาดแต่ละประเทศอย่างจริงจังว่าจะสามารถดันยอดขายได้ดีกว่าการทำตลาดหลายประเทศแบบไม่เจาะจง

“เวลานี้ยอมรับว่าไม่ต้องการทำตลาดประเทศใหม่ ๆ มากนัก แต่ต้องการรักษาตลาดเดิมให้แข็งแกร่งซึ่งน่าจะดีกว่า เพราะยึดคติพจน์การทำงานที่ว่า จะรุกตลาดอย่างพอเพียง ไม่เสี่ยง แต่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา”

ขณะที่ตลาดในประเทศ เตรียมออกสินค้ากลุ่มใหม่ เพื่อขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่อาจลดความถี่ลงและเริ่มทำตลาดกับสินค้าที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง เพราะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มขยายพอร์ตสินค้าออกมาครอบคลุมในหลายกลุ่มแล้ว โดยสินค้าที่ออกใหม่ยังอยู่ภายใต้กลุ่มเดิมแต่เป็นรสชาติใหม่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม... แม้ตลาดน้ำผลไม้ในประเทศไม่ได้เติบโตหวือหวา หรือแข่งขันกันรุนแรง แต่เชื่อว่าตลาดยังสามารถเติบโตเช่นนี้ได้เรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเพราะกระแสการดูแลสุขภาพที่กำลังมาแรง ประกอบกับอัตราการบริโภคน้ำผลไม้ของคนไทยยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะแข่งกันสรรหาสินค้าที่ตอบโจทย์และผลักดันให้คนบริโภคน้ำผลไม้มากขึ้นต่อไป

“แม้ไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดน้ำผลไม้จะเติบโตน้อยลงที่ 2-4% จากอดีตที่เคยโตกว่า 10% แต่ก็เชื่อว่าจะยังคงรักษาระดับไว้ที่เท่านี้ได้ ซึ่งก็ถือว่ายังไม่แย่ หากตลาดยังคงเดินหน้าแข่งขันกันพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามาสม่ำเสมอ เพราะจะเป็นตัวดึงดูดให้คนดื่มน้ำผลไม้มากขึ้น หรือดึงคนที่ไม่นิยมดื่มน้ำผลไม้ให้สนใจที่จะดื่มด้วย คล้ายกับที่มาลีทำมาก่อนหน้านี้ด้วยการออกน้ำผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ ที่ช่วยเรียกคนที่กลัวอ้วนให้ดื่มน้ำผลไม้กันเพิ่มขึ้น”

แน่นอนว่า... สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นโจทย์ที่หินมากกว่าโจทย์อื่น ๆ ที่ผู้เป็นบิดามอบให้แก่ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวน ดังนั้นจึงต้องรอพิสูจน์ต่อไปว่า เมื่อผ่านโจทย์หินหมื่นล้านบาทไปได้แล้ว “มาลี” จะก้าวต่อไปในทิศทางใด และจะสร้างสีสันให้วงการน้ำผลไม้ไทยอย่างไร!!!.

ทีมเศรษฐกิจ


9Zean.Com - WiFiNews

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-03-29 23:00:08

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น