สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ว่าหนังสือพิมพ์ “ฮัมบัวร์เกอร์ อาเบนด์บลัตต์” ฉบับวันเสาร์ ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี ว่าในขณะที่เจ้าหนี้เอกชนหลายรายยินยอมผ่อนผันการชำระหนี้ หรือยกเลิกหนี้บางส่วนให้กับรัฐบาลเอเธนส์ตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเยอรมนีไม่มีนโยบายเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม เธอยืนยันว่ายุโรปต้องการหาทางออกกับกรีซด้วยความประนีประนอมและสมเหตุสมผล เพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหภาพที่มั่นคง เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำกรีซ มีกำหนดเดินทางเยือนอิตาลีและฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างวันอังคารและวันพุธนี้ แต่ไม่มีกำหนดการเดินทางเยือนเยอรมนี ประเทศเสาหลักของยูโรโซน จากการเป็นผู้บริจาคเงินเข้ากองทุนส่วนกลางรายใหญ่ที่สุด
ขณะที่นายปิแอร์ มอสโกวิซี กรรมาธิการด้านการคลังของสหภาพยุโรป ( อียู ) หนึ่งในเจ้าหนี้ของกรีซในนาม “ทรอยกา” ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( ไอเอ็มเอฟ ) กล่าวแสดงความกังวลอย่างยิ่งกับท่าทีล่าสุดของกรีซและมหาอำนาจในยูโรโซน และยืนยันว่ากรีซควรอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซน หรือ 19 ประเทศผู้ร่วมใช้สกุลเงินยูโรต่อไป การถอนตัวออกจากกลุ่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปยังระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคแน่นอน
รายงานล่าสุดของอียูระบุ สถานการณ์หนี้ล่าสุดของกรีซเมื่อรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยด้วยแล้ว สูงถึง 315,000 ล้านยูโร ( ราว 11.6 ล้านล้านบาท ) มากกว่า 175% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( จีดีพี )
สำนักข่าวWiFi Phitsanulok
ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-01-31 19:27:09
เวลาโพส2015-01-31 19:27:09
ผู้นำเยอรมนีปฏิเสธยกหนี้บางส่วนให้กรีซ
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/951119.jpeg
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ว่าหนังสือพิมพ์ “ฮัมบัวร์เกอร์ อาเบนด์บลัตต์” ฉบับวันเสาร์ ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี ว่าในขณะที่เจ้าหนี้เอกชนหลายรายยินยอมผ่อนผันการชำระหนี้ หรือยกเลิกหนี้บางส่วนให้กับรัฐบาลเอเธนส์ตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเยอรมนีไม่มีนโยบายเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม เธอยืนยันว่ายุโรปต้องการหาทางออกกับกรีซด้วยความประนีประนอมและสมเหตุสมผล เพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหภาพที่มั่นคง เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำกรีซ มีกำหนดเดินทางเยือนอิตาลีและฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างวันอังคารและวันพุธนี้ แต่ไม่มีกำหนดการเดินทางเยือนเยอรมนี ประเทศเสาหลักของยูโรโซน จากการเป็นผู้บริจาคเงินเข้ากองทุนส่วนกลางรายใหญ่ที่สุด
ขณะที่นายปิแอร์ มอสโกวิซี กรรมาธิการด้านการคลังของสหภาพยุโรป ( อียู ) หนึ่งในเจ้าหนี้ของกรีซในนาม “ทรอยกา” ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( ไอเอ็มเอฟ ) กล่าวแสดงความกังวลอย่างยิ่งกับท่าทีล่าสุดของกรีซและมหาอำนาจในยูโรโซน และยืนยันว่ากรีซควรอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซน หรือ 19 ประเทศผู้ร่วมใช้สกุลเงินยูโรต่อไป การถอนตัวออกจากกลุ่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปยังระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคแน่นอน
รายงานล่าสุดของอียูระบุ สถานการณ์หนี้ล่าสุดของกรีซเมื่อรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยด้วยแล้ว สูงถึง 315,000 ล้านยูโร ( ราว 11.6 ล้านล้านบาท ) มากกว่า 175% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( จีดีพี )
สำนักข่าวWiFi Phitsanulok
ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-01-31 19:27:09
เวลาโพส2015-01-31 19:27:09
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ว่าหนังสือพิมพ์ "ฮัมบัวร์เกอร์ อาเบนด์บลัตต์" ฉบับวันเสาร์ ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี ว่าในขณะที่เจ้าหนี้เอกชนหลายรายยินยอมผ่อนผันการชำระหนี้ หรือยกเลิกหนี้บางส่วนให้กับรัฐบาลเอเธนส์ตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเยอรมนีไม่มีนโยบายเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม เธอยืนยันว่ายุโรปต้องการหาทางออกกับกรีซด้วยความประนีประนอมและสมเหตุสมผล เพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหภาพที่มั่นคง เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำกรีซ มีกำหนดเดินทางเยือนอิตาลีและฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างวันอังคารและวันพุธนี้ แต่ไม่มีกำหนดการเดินทางเยือนเยอรมนี ประเทศเสาหลักของยูโรโซน จากการเป็นผู้บริจาคเงินเข้ากองทุนส่วนกลางรายใหญ่ที่สุด
ขณะที่นายปิแอร์ มอสโกวิซี กรรมาธิการด้านการคลังของสหภาพยุโรป ( อียู ) หนึ่งในเจ้าหนี้ของกรีซในนาม "ทรอยกา" ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( ไอเอ็มเอฟ ) กล่าวแสดงความกังวลอย่างยิ่งกับท่าทีล่าสุดของกรีซและมหาอำนาจในยูโรโซน และยืนยันว่ากรีซควรอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซน หรือ 19 ประเทศผู้ร่วมใช้สกุลเงินยูโรต่อไป การถอนตัวออกจากกลุ่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปยังระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคแน่นอน
รายงานล่าสุดของอียูระบุ สถานการณ์หนี้ล่าสุดของกรีซเมื่อรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยด้วยแล้ว สูงถึง 315,000 ล้านยูโร ( ราว 11.6 ล้านล้านบาท ) มากกว่า 175% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( จีดีพี )
สำนักข่าวWiFi Phitsanulok
ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-01-31 19:27:09
เวลาโพส2015-01-31 19:27:09
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น