วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

เผย'กัปตันคิวแซด8501' กู้วิกฤตด้วยวิธีนอกตำรา




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ว่า การสอบสวนเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย เที่ยวบิน คิวแซด 8501 ตกลงในทะเลชวา ขณะออกเดินทางจากเมือสุราบายาไปยังประเทศสิงคโปร์ เมื่อช่วงเช้าตรู่วันที่ 28 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผลการตรวจกล่องดำและกล่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน ซึ่งมีการเปิดเผยออกมาเป็นระยะ ล่าสุดระบุว่า ในขณะที่นายเรมี เพลเซล นักบินผู้ช่วยชาวฝรั่งเศส ล้มเหลวที่จะควบคุมเครื่องบิน กัปตันอิริยันโต ชาวอินโดนีเซีย ได้พยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ด้วยวิธีการที่ผิดไปจากขั้นตอนปกติ



เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์เผยว่า ประเด็นหลักในการสืบสวนครั้งนี้ อยู่ที่สภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการบิน (Flight Augmentation Computer: FAC) และวิธีการที่นักบินทั้งสองตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสำนักข่าวบลูมเบิร์กส์รายงานเพิ่มเติมเมื่อวันศุกร์ว่า ได้มีการดึงเบรกเกอร์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า หลังนักบินพยายามปรับระบบอุปกรณ์ใหม่ แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดการสอบสวนซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าผู้ที่ดึงเบรกเกอร์คือกัปตันอิริยันโต ไม่ใช่ผู้ช่วยนักบินที่มีประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งนับเป็นวิธีการที่ผิดปกติ เนื่องจากตามขั้นตอนแล้ว การปรับระบบคอมพิวเตอร์ใหม่สามารถทำได้โดยการกดปุ่มบนแผงควบคุมที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ โดยก่อนเกิดเหตุไม่กี่วัน กัปตันอิริยันโตก็เคยประสบปัญหาเดียวกันบนเครื่องบินลำเดียวกันนี้



นักบินเครื่องบินแอร์บัส เอ320 คนหนึ่ง ให้ความเห็นว่า การดึงเบรกเกอร์นับเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก และไม่ควรจะเกิดขึ้นยกเว้นว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่คับขันจริงๆ ซึ่งการจะดึงเบรกเกอร์ได้นั้น นักบินจะต้องลุกจากที่นั่ง เนื่องจากมันติดตั้งอยู่บริเวณแผงควบคุมด้านหลังของผู้ช่วยนักบิน และเป็นเรื่องยากมากที่จะเอื้อมถึงจุดนั้นจากตำแหน่งที่นั่งในฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นที่นั่งของกัปตัน เมื่อดูจากแผนผังห้องนักบิน ทั้งนี้ การหยุดทำงานของระบบไฟฟ้า ไม่ได้มีผลโดยตรงที่จะทำให้เครื่องบินตก แต่จะทำให้ระบบควบคุมความปลอดภัยไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ช่วยนักบินบังคับเครื่องจนอยู่ในระดับที่อันตรายโดยไม่รู้ตัว



มีข้อสันนิษฐานว่า หลังเกิดความผิดปกติกับคอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยนักบินอยู่ในความตระหนกและตัดสินใจเชิดหัวเครื่องบินขึ้น ซึ่งถึงแม้กัปตันจะสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องได้ แต่ก็ไม่สามารถนำเครื่องกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ทัน โดยนายตาตัง กูร์นิอาดี ประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติอินโดนีเซีย (เอ็นทีเอสซี) ย้ำว่า หลักฐานแสดงให้เห็นว่า กัปตันกลับเข้าประจำตำแหน่งเพื่อแก้ปัญหาในทันทีโดยไม่รอช้า อย่างไรก็ตาม บริษัทแอร์บัสไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ เช่นเดียวกับแอร์เอเชียที่ยืนยันว่าจะไม่ให้ความเห็นใดระหว่างที่การสอบสวนยังไม่ลุล่วง



ด้านทนายความของครอบครัวผู้ช่วยนักบินชาวฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องบริษัทแอร์เอเชียต่อศาลในกรุงปารีส ฐานทำให้ชีวิตผู้อื่นตกอยู่ในอันตราย ด้วยการขึ้นบินในเส้นทางและเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนจะกล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ตาม



ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวเตือนถึงการตั้งสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้ หลังมีการเปิดเผยรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นออกมาเรื่อยๆ เพราะถึงแม้ว่าการพิจารณาแต่ละเหตุการณ์จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะอธิบายได้ถึงสาเหตุที่แท้จริง จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ในทุกรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน และตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมีข้อสรุปใดๆ.


ขอบคุณภาพจาก www.dailymail.co.uk



สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-01-31 22:58:09





เผย'กัปตันคิวแซด8501' กู้วิกฤตด้วยวิธีนอกตำรา
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/951342.jpeg




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ว่า การสอบสวนเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย เที่ยวบิน คิวแซด 8501 ตกลงในทะเลชวา ขณะออกเดินทางจากเมือสุราบายาไปยังประเทศสิงคโปร์ เมื่อช่วงเช้าตรู่วันที่ 28 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผลการตรวจกล่องดำและกล่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน ซึ่งมีการเปิดเผยออกมาเป็นระยะ ล่าสุดระบุว่า ในขณะที่นายเรมี เพลเซล นักบินผู้ช่วยชาวฝรั่งเศส ล้มเหลวที่จะควบคุมเครื่องบิน กัปตันอิริยันโต ชาวอินโดนีเซีย ได้พยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ด้วยวิธีการที่ผิดไปจากขั้นตอนปกติ



เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์เผยว่า ประเด็นหลักในการสืบสวนครั้งนี้ อยู่ที่สภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการบิน (Flight Augmentation Computer: FAC) และวิธีการที่นักบินทั้งสองตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสำนักข่าวบลูมเบิร์กส์รายงานเพิ่มเติมเมื่อวันศุกร์ว่า ได้มีการดึงเบรกเกอร์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า หลังนักบินพยายามปรับระบบอุปกรณ์ใหม่ แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดการสอบสวนซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าผู้ที่ดึงเบรกเกอร์คือกัปตันอิริยันโต ไม่ใช่ผู้ช่วยนักบินที่มีประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งนับเป็นวิธีการที่ผิดปกติ เนื่องจากตามขั้นตอนแล้ว การปรับระบบคอมพิวเตอร์ใหม่สามารถทำได้โดยการกดปุ่มบนแผงควบคุมที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ โดยก่อนเกิดเหตุไม่กี่วัน กัปตันอิริยันโตก็เคยประสบปัญหาเดียวกันบนเครื่องบินลำเดียวกันนี้



นักบินเครื่องบินแอร์บัส เอ320 คนหนึ่ง ให้ความเห็นว่า การดึงเบรกเกอร์นับเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก และไม่ควรจะเกิดขึ้นยกเว้นว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่คับขันจริงๆ ซึ่งการจะดึงเบรกเกอร์ได้นั้น นักบินจะต้องลุกจากที่นั่ง เนื่องจากมันติดตั้งอยู่บริเวณแผงควบคุมด้านหลังของผู้ช่วยนักบิน และเป็นเรื่องยากมากที่จะเอื้อมถึงจุดนั้นจากตำแหน่งที่นั่งในฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นที่นั่งของกัปตัน เมื่อดูจากแผนผังห้องนักบิน ทั้งนี้ การหยุดทำงานของระบบไฟฟ้า ไม่ได้มีผลโดยตรงที่จะทำให้เครื่องบินตก แต่จะทำให้ระบบควบคุมความปลอดภัยไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ช่วยนักบินบังคับเครื่องจนอยู่ในระดับที่อันตรายโดยไม่รู้ตัว



มีข้อสันนิษฐานว่า หลังเกิดความผิดปกติกับคอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยนักบินอยู่ในความตระหนกและตัดสินใจเชิดหัวเครื่องบินขึ้น ซึ่งถึงแม้กัปตันจะสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องได้ แต่ก็ไม่สามารถนำเครื่องกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ทัน โดยนายตาตัง กูร์นิอาดี ประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติอินโดนีเซีย (เอ็นทีเอสซี) ย้ำว่า หลักฐานแสดงให้เห็นว่า กัปตันกลับเข้าประจำตำแหน่งเพื่อแก้ปัญหาในทันทีโดยไม่รอช้า อย่างไรก็ตาม บริษัทแอร์บัสไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ เช่นเดียวกับแอร์เอเชียที่ยืนยันว่าจะไม่ให้ความเห็นใดระหว่างที่การสอบสวนยังไม่ลุล่วง



ด้านทนายความของครอบครัวผู้ช่วยนักบินชาวฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องบริษัทแอร์เอเชียต่อศาลในกรุงปารีส ฐานทำให้ชีวิตผู้อื่นตกอยู่ในอันตราย ด้วยการขึ้นบินในเส้นทางและเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนจะกล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ตาม



ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวเตือนถึงการตั้งสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้ หลังมีการเปิดเผยรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นออกมาเรื่อยๆ เพราะถึงแม้ว่าการพิจารณาแต่ละเหตุการณ์จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะอธิบายได้ถึงสาเหตุที่แท้จริง จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ในทุกรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน และตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมีข้อสรุปใดๆ.


ขอบคุณภาพจาก www.dailymail.co.uk



สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-01-31 22:58:09






สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ว่า การสอบสวนเหตุการณ์เครื่องบินโดยสารแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย เที่ยวบิน คิวแซด 8501 ตกลงในทะเลชวา ขณะออกเดินทางจากเมือสุราบายาไปยังประเทศสิงคโปร์ เมื่อช่วงเช้าตรู่วันที่ 28 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผลการตรวจกล่องดำและกล่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน ซึ่งมีการเปิดเผยออกมาเป็นระยะ ล่าสุดระบุว่า ในขณะที่นายเรมี เพลเซล นักบินผู้ช่วยชาวฝรั่งเศส ล้มเหลวที่จะควบคุมเครื่องบิน กัปตันอิริยันโต ชาวอินโดนีเซีย ได้พยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ด้วยวิธีการที่ผิดไปจากขั้นตอนปกติ

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์เผยว่า ประเด็นหลักในการสืบสวนครั้งนี้ อยู่ที่สภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการบิน (Flight Augmentation Computer: FAC) และวิธีการที่นักบินทั้งสองตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสำนักข่าวบลูมเบิร์กส์รายงานเพิ่มเติมเมื่อวันศุกร์ว่า ได้มีการดึงเบรกเกอร์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า หลังนักบินพยายามปรับระบบอุปกรณ์ใหม่ แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดการสอบสวนซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าผู้ที่ดึงเบรกเกอร์คือกัปตันอิริยันโต ไม่ใช่ผู้ช่วยนักบินที่มีประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งนับเป็นวิธีการที่ผิดปกติ เนื่องจากตามขั้นตอนแล้ว การปรับระบบคอมพิวเตอร์ใหม่สามารถทำได้โดยการกดปุ่มบนแผงควบคุมที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ โดยก่อนเกิดเหตุไม่กี่วัน กัปตันอิริยันโตก็เคยประสบปัญหาเดียวกันบนเครื่องบินลำเดียวกันนี้

นักบินเครื่องบินแอร์บัส เอ320 คนหนึ่ง ให้ความเห็นว่า การดึงเบรกเกอร์นับเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก และไม่ควรจะเกิดขึ้นยกเว้นว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่คับขันจริงๆ ซึ่งการจะดึงเบรกเกอร์ได้นั้น นักบินจะต้องลุกจากที่นั่ง เนื่องจากมันติดตั้งอยู่บริเวณแผงควบคุมด้านหลังของผู้ช่วยนักบิน และเป็นเรื่องยากมากที่จะเอื้อมถึงจุดนั้นจากตำแหน่งที่นั่งในฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นที่นั่งของกัปตัน เมื่อดูจากแผนผังห้องนักบิน ทั้งนี้ การหยุดทำงานของระบบไฟฟ้า ไม่ได้มีผลโดยตรงที่จะทำให้เครื่องบินตก แต่จะทำให้ระบบควบคุมความปลอดภัยไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ช่วยนักบินบังคับเครื่องจนอยู่ในระดับที่อันตรายโดยไม่รู้ตัว

มีข้อสันนิษฐานว่า หลังเกิดความผิดปกติกับคอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยนักบินอยู่ในความตระหนกและตัดสินใจเชิดหัวเครื่องบินขึ้น ซึ่งถึงแม้กัปตันจะสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องได้ แต่ก็ไม่สามารถนำเครื่องกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ทัน โดยนายตาตัง กูร์นิอาดี ประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติอินโดนีเซีย (เอ็นทีเอสซี) ย้ำว่า หลักฐานแสดงให้เห็นว่า กัปตันกลับเข้าประจำตำแหน่งเพื่อแก้ปัญหาในทันทีโดยไม่รอช้า อย่างไรก็ตาม บริษัทแอร์บัสไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ เช่นเดียวกับแอร์เอเชียที่ยืนยันว่าจะไม่ให้ความเห็นใดระหว่างที่การสอบสวนยังไม่ลุล่วง

ด้านทนายความของครอบครัวผู้ช่วยนักบินชาวฝรั่งเศส ได้ยื่นฟ้องบริษัทแอร์เอเชียต่อศาลในกรุงปารีส ฐานทำให้ชีวิตผู้อื่นตกอยู่ในอันตราย ด้วยการขึ้นบินในเส้นทางและเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนจะกล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ตาม

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวเตือนถึงการตั้งสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้ หลังมีการเปิดเผยรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นออกมาเรื่อยๆ เพราะถึงแม้ว่าการพิจารณาแต่ละเหตุการณ์จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะอธิบายได้ถึงสาเหตุที่แท้จริง จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ในทุกรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน และตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมีข้อสรุปใดๆ.

ขอบคุณภาพจาก www.dailymail.co.uk


สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-01-31 22:58:09

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น