วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ย้อนดู “บัตรประชาชน” รุ่นแรกที่มีใช้ในประเทศไทย



บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่1: มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอน คล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง 2 ด้าน ด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า “บัตรประจำตัวประชาชน” พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง (ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน อาทิเช่นต้องพกบัตรติดตัวและและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอ ต้องขอเปลี่ยนบัตรหมดอายุต้องแจ้งของแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น
บัตรประชาชน

ในแต่ละหน้าต่อมาจะมีการบอกลำดับเลขไว้ ดังนี้
หน้าที่ 1    ระบุข้อความว่า เลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรขนาด 2 นิ้วและมีลายมือผู้ถือบัตรและลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา
หน้าที่ 2    เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือสามี
หน้าที่ 3    เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฏร ได้แก้ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดอาชีพ และมีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่
หน้าที่ 4-6 มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร ลักษณะพื้นบัตร เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวรารามเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย
บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอเปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฏหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ จนถึง 70 ปี บริบูรณ์และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้พราะราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนพุทธศักราช 2505 กฏหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร
บัตรประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 2
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 2 : ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองโดยเฉพาะความเจิญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการและประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดต่อทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิดกว้างขวางขึ้นบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 1 มีจุดอ่อนในด้านการพกพา ทั้งนี้เนื่องจากมีลักษณะใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ ประกอบกับลักษณะของบัตร หลังกการและวิธีการทางกฏหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาลในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็น นายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฏหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้สามารถบัคบใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ
ในที่สุดจึงได้ออก “พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505″ ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นต้นมา โดยการออกบัตรจะมี “กรมการปกครอง” เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ สาระสำคัญที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. 2486 มีหลายประการ อาทิ เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุ 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนด ค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตรไว้ฉบับละ 5 บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประจำตัวประชาชนร่อนแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน
ลักษณะของบัตร รุ่นที่2
- เป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร
- ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑ อยู่ตรงกลาง มีข้อความ “สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวง                มหาดไทย” วันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุ
- ด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่าย ที่มีเส้นบอกส่วนสูง เป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและตัว   อักษรแสดงถึงอำเภอที่อกกบัตรและเลขทะเบียนบัตระและตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตรปรากฏอยู่       ทางด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะมีชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาคนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2530 รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทยในช่วงระหว่างปีดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 ใช้บังคับได้ประมาณ 21 ปี พบจุดอ่อนหลายประการกับกฏหมายฉบับนี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาทางข้อกฏหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ยกเลิก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 และตรา “พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526″ ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526
กฏหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฏหมายฉบับก่อน ได้แก้ การลดอายุของผู้ที่จะต้องของมีบัตรจาก 17 ปีบริบูรณ์ เป็น 15 ปีบริบูรณ์เพื่ให้สอดคล้องกับกฏหมายแรงงานการนับอายุผู้ขอมีบัตร 15 ปีบริบูรณ์ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคุล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตร มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนี่ยนในการขอมีบัตรครั้งแรกหรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรบังคงเหมือนเดิมทุกประการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Electronic Government Agency (EGA Thailand)
https://www.facebook.com/EGAThailand
ขอขอบพระคุณที่มาของข่าว:S! News




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น