เมื่อวันที่ 5 ก.พ. น.ส.กฤษดา แสวงดี หัวหน้าโครงการวิจัยสุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลไทย กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพยาบาลวิชาชีพทั่วประเทศ จำนวน 18,765 คน พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความเครียด ในจำนวนนี้มีร้อยละ 45 ที่เครียดสูง โดย 1 ใน 3 คน มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ และต้องพึ่งยานอนหลับร้อยละ 8-10 ทั้งนี้สาเหตุความเครียดเพราะต้องเข้าเวรผลัดต่อเนื่องนานกว่า 12 ชม.ต่อวัน ซึ่งความเครียดตรงนี้พบว่าสัมพันธ์ต่อการได้รับบาดเจ็บระหว่างปฏิบัติงาน ถูกเข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคม และเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกแลกล้ามเนื้อ โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมามี 1 ใน 5 ประสบความรุนแรงจนอยากลาออภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้เมื่อดูดัชนีวัดคุณภาพชีวิตพบว่าพยาบาลไทยอยู่ในระดับที่ 0.75 ซึ่งต่ำกว่าหญิงไทยที่ประกอบอาชีพอื่นซึ่งมีดัชนีอยู่ที่ 0.95 และต่ำกว่าประเทศอังกฤษ 0.85 และประเทศสวีเดนอยู่ที่ 0.83 โดยเฉพาะพยาบาลอายุน้อยจะยิ่งมีคุณภาพชีวิตในระดับที่ต่ำกว่าผู้อาวุโส ส่งผลให้ลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยอายุการทำงานเพียง 22.5 ปี
น.ส.กฤษดา กล่าวว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสร้างความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล คือ 1. บรรจุเรื่องการตระหนักถึงภาวะคุกคามต่อสุขภาพในสถานที่ทำงานทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาอาชีวอนามัยของหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ และในการปฐมนิเทศพยาบาลจบใหม่ 2.การกระตุ้นให้หน่วยบริการคำนึงถึงการการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมด้านบวก ครอบคลุมภาวะคุกคามสุขภาวะทุกประเภททั้งความรุนแรง ความเครียดในการทำงาน และมลภาวะที่เป็นพิษต่าง ๆ อาทิ การมีอัตรากำลังที่เพียงพอ การมีเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอย่างเพียงพอ เป็นต้น และ 3. ส่งเสริมให้มีการตรวจติดตามและประเมินผล โครงการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมด้านบวก และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพยาบาลไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพพยาบาลไทย.
สำนักข่าวWiFi Phitsanulok
ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 00:42:11
เวลาโพส2015-02-06 00:42:11
อึ้ง!พยาบาลไทยเกือบ50 %เครียดสูงพึ่งยานอนหลับ
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/955537.jpeg
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. น.ส.กฤษดา แสวงดี หัวหน้าโครงการวิจัยสุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลไทย กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพยาบาลวิชาชีพทั่วประเทศ จำนวน 18,765 คน พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความเครียด ในจำนวนนี้มีร้อยละ 45 ที่เครียดสูง โดย 1 ใน 3 คน มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ และต้องพึ่งยานอนหลับร้อยละ 8-10 ทั้งนี้สาเหตุความเครียดเพราะต้องเข้าเวรผลัดต่อเนื่องนานกว่า 12 ชม.ต่อวัน ซึ่งความเครียดตรงนี้พบว่าสัมพันธ์ต่อการได้รับบาดเจ็บระหว่างปฏิบัติงาน ถูกเข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคม และเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกแลกล้ามเนื้อ โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมามี 1 ใน 5 ประสบความรุนแรงจนอยากลาออภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้เมื่อดูดัชนีวัดคุณภาพชีวิตพบว่าพยาบาลไทยอยู่ในระดับที่ 0.75 ซึ่งต่ำกว่าหญิงไทยที่ประกอบอาชีพอื่นซึ่งมีดัชนีอยู่ที่ 0.95 และต่ำกว่าประเทศอังกฤษ 0.85 และประเทศสวีเดนอยู่ที่ 0.83 โดยเฉพาะพยาบาลอายุน้อยจะยิ่งมีคุณภาพชีวิตในระดับที่ต่ำกว่าผู้อาวุโส ส่งผลให้ลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยอายุการทำงานเพียง 22.5 ปี
น.ส.กฤษดา กล่าวว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสร้างความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล คือ 1. บรรจุเรื่องการตระหนักถึงภาวะคุกคามต่อสุขภาพในสถานที่ทำงานทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาอาชีวอนามัยของหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ และในการปฐมนิเทศพยาบาลจบใหม่ 2.การกระตุ้นให้หน่วยบริการคำนึงถึงการการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมด้านบวก ครอบคลุมภาวะคุกคามสุขภาวะทุกประเภททั้งความรุนแรง ความเครียดในการทำงาน และมลภาวะที่เป็นพิษต่าง ๆ อาทิ การมีอัตรากำลังที่เพียงพอ การมีเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอย่างเพียงพอ เป็นต้น และ 3. ส่งเสริมให้มีการตรวจติดตามและประเมินผล โครงการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมด้านบวก และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพยาบาลไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพพยาบาลไทย.
สำนักข่าวWiFi Phitsanulok
ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 00:42:11
เวลาโพส2015-02-06 00:42:11
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. น.ส.กฤษดา แสวงดี หัวหน้าโครงการวิจัยสุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลไทย กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพยาบาลวิชาชีพทั่วประเทศ จำนวน 18,765 คน พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความเครียด ในจำนวนนี้มีร้อยละ 45 ที่เครียดสูง โดย 1 ใน 3 คน มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ และต้องพึ่งยานอนหลับร้อยละ 8-10 ทั้งนี้สาเหตุความเครียดเพราะต้องเข้าเวรผลัดต่อเนื่องนานกว่า 12 ชม.ต่อวัน ซึ่งความเครียดตรงนี้พบว่าสัมพันธ์ต่อการได้รับบาดเจ็บระหว่างปฏิบัติงาน ถูกเข็มทิ่มตำ การบาดเจ็บจากของมีคม และเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกแลกล้ามเนื้อ โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมามี 1 ใน 5 ประสบความรุนแรงจนอยากลาออภายใน 1-2 ปี นอกจากนี้เมื่อดูดัชนีวัดคุณภาพชีวิตพบว่าพยาบาลไทยอยู่ในระดับที่ 0.75 ซึ่งต่ำกว่าหญิงไทยที่ประกอบอาชีพอื่นซึ่งมีดัชนีอยู่ที่ 0.95 และต่ำกว่าประเทศอังกฤษ 0.85 และประเทศสวีเดนอยู่ที่ 0.83 โดยเฉพาะพยาบาลอายุน้อยจะยิ่งมีคุณภาพชีวิตในระดับที่ต่ำกว่าผู้อาวุโส ส่งผลให้ลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพเฉลี่ยอายุการทำงานเพียง 22.5 ปี
น.ส.กฤษดา กล่าวว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสร้างความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล คือ 1. บรรจุเรื่องการตระหนักถึงภาวะคุกคามต่อสุขภาพในสถานที่ทำงานทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาอาชีวอนามัยของหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ และในการปฐมนิเทศพยาบาลจบใหม่ 2.การกระตุ้นให้หน่วยบริการคำนึงถึงการการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมด้านบวก ครอบคลุมภาวะคุกคามสุขภาวะทุกประเภททั้งความรุนแรง ความเครียดในการทำงาน และมลภาวะที่เป็นพิษต่าง ๆ อาทิ การมีอัตรากำลังที่เพียงพอ การมีเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอย่างเพียงพอ เป็นต้น และ 3. ส่งเสริมให้มีการตรวจติดตามและประเมินผล โครงการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมด้านบวก และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิจัยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพยาบาลไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพพยาบาลไทย.
สำนักข่าวWiFi Phitsanulok
ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 00:42:11
เวลาโพส2015-02-06 00:42:11
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น