วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทส.เดินหน้าลุยฟันสวนยางรุกป่า




จากกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) สั่งการในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดพื้นที่เพาะปลูกยางพารา 7 แสนไร่ ภายในระยะเวลา 7 ปี เพื่อให้ปริมาณการผลิตยางใกล้เคียงกับความต้องการของท้องตลาด โดยให้ดำเนินการเร่งด่วนในพื้นที่ป่าที่มีการบุกรุกเพื่อปลูกยางพารา เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ โดยให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) รับซื้อหรือตัดต้นยางไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ พร้อมทั้งมีมาตรการเยียวยาเกษตรกรผู้ปลูกยางพารานั้น



เมื่อวันที่ 6 ก.พ.นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมป่าไม้มีพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราในป่าสงวนฯ รวม 4,033,404 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 รวม 878,355 ไร่ และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 รวม 2,842,380 ไร่ ซึ่งได้มีแผนการดำเนินการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามหลักวิชาการ  โดยมาตรการเร่งด่วนจะดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายที่คดีเสร็จสิ้นแล้วให้รื้อถอนทันที (เอโอ 1 )  พื้นที่เอโอ 3 ซึ่งเป็นพื้นที่บุกรุกใหม่  ได้วางแผนรื้อถอนนำร่อง 10 จังหวัด โดยทั้ง 2 กลุ่ม เริ่มดำเนินการจากกลุ่มนายทุน และกรณีที่เป็นประชาชนทั่วไปให้ดำเนินการใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักและเตรียมมาตรการช่วยเหลือให้สามารถยังชีพได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยต้องประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.)  ตำรวจ ทหารและผู้นำชุมชน



“ภายในสัปดาห์นี้จะเริ่มดำเนินการตัดโค่นสวนยางพาราที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ   ในพื้นที่นำร่อง เช่น  จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์  เลย และจันทบุรี เป็นกลุ่มแรกที่จะเข้าไปดำเนินการ ซึ่งก่อนหน้านี้กรมป่าไม้ได้ใช้มาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในพื้นที่สวนยางที่บุกรุกป่ามาโดยตลอดอยู่แล้ว และสามารถเข้าไปดำเนินการได้ทันที แต่จากนี้จะมีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยจะเน้นในกลุ่มนายทุนรายใหญ่ที่ไปลงทุนปลูกยางพาราในพื้นที่ป่าสงวนฯ ทั้งนี้ในส่วนของกรมอุทยานฯ มีพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราประมาณ 1 ล้านไร่ ขณะที่กรมป่าไม้มีประมาณ 4 ล้านไร่ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนคาดว่าใช้เวลา 4-5 ปี จะสามารถเอายางพาราออกจากพื้นที่ป่าสงวนฯได้หมด”นายธีรภัทร กล่าว



ขณะที่นายพิพัฒน์ ชนินทยุทธวงศ์ ผู้รักษาการแทน ผอ.องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กล่าวว่า ทาง อ.อ.ป.ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ทางรัฐบาลมีแนวคิดให้ อ.อ.ป.เป็นผู้รับซื้อไม้ยางพาราจากเกษตรกรในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก เพราะมีข้อจำกัดหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเงินทุนในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละปี อ.อ.ป.ได้รับงบประมาณเพียง 1,000 ล้านบาทเท่านั้น การจะไปรับซื้อไม้ยางพาราตนก็ไม่รู้ว่าจะเอาจากไหนไปซื้อ และจ่ายเงินให้ใคร และเงินจากการขายไม้ยางพาราจะนำไปใช้อย่างไร ซึ่งยังมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาว่าทำได้หรือไม่ หรืออาจจะเป็นตัวประสานงานให้พ่อค้าเอกชนมาตัดไม้โดยตรงก็คงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน  ในส่วนของ อ.อ.ป.มีพื้นที่ปลูกยางพารา 8 หมื่นไร่ โดยหากอายุมากกว่า 25 ปี ก็จะขายให้บริษัทที่รับซื้อไม้ไป แต่เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลหลังจากตัดฟันแล้ว อ.อ.ป.จะไม่ส่งเสริมให้ปลูกยางพาราเพิ่ม แต่ให้ปลูกไม้เศรษฐกิจชนิดอื่นแทน.




สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 18:26:14





ทส.เดินหน้าลุยฟันสวนยางรุกป่า
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/956285.jpg




จากกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) สั่งการในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดพื้นที่เพาะปลูกยางพารา 7 แสนไร่ ภายในระยะเวลา 7 ปี เพื่อให้ปริมาณการผลิตยางใกล้เคียงกับความต้องการของท้องตลาด โดยให้ดำเนินการเร่งด่วนในพื้นที่ป่าที่มีการบุกรุกเพื่อปลูกยางพารา เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ โดยให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) รับซื้อหรือตัดต้นยางไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ พร้อมทั้งมีมาตรการเยียวยาเกษตรกรผู้ปลูกยางพารานั้น



เมื่อวันที่ 6 ก.พ.นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมป่าไม้มีพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราในป่าสงวนฯ รวม 4,033,404 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 รวม 878,355 ไร่ และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 รวม 2,842,380 ไร่ ซึ่งได้มีแผนการดำเนินการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามหลักวิชาการ  โดยมาตรการเร่งด่วนจะดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายที่คดีเสร็จสิ้นแล้วให้รื้อถอนทันที (เอโอ 1 )  พื้นที่เอโอ 3 ซึ่งเป็นพื้นที่บุกรุกใหม่  ได้วางแผนรื้อถอนนำร่อง 10 จังหวัด โดยทั้ง 2 กลุ่ม เริ่มดำเนินการจากกลุ่มนายทุน และกรณีที่เป็นประชาชนทั่วไปให้ดำเนินการใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักและเตรียมมาตรการช่วยเหลือให้สามารถยังชีพได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยต้องประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.)  ตำรวจ ทหารและผู้นำชุมชน



“ภายในสัปดาห์นี้จะเริ่มดำเนินการตัดโค่นสวนยางพาราที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ   ในพื้นที่นำร่อง เช่น  จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์  เลย และจันทบุรี เป็นกลุ่มแรกที่จะเข้าไปดำเนินการ ซึ่งก่อนหน้านี้กรมป่าไม้ได้ใช้มาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในพื้นที่สวนยางที่บุกรุกป่ามาโดยตลอดอยู่แล้ว และสามารถเข้าไปดำเนินการได้ทันที แต่จากนี้จะมีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยจะเน้นในกลุ่มนายทุนรายใหญ่ที่ไปลงทุนปลูกยางพาราในพื้นที่ป่าสงวนฯ ทั้งนี้ในส่วนของกรมอุทยานฯ มีพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราประมาณ 1 ล้านไร่ ขณะที่กรมป่าไม้มีประมาณ 4 ล้านไร่ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนคาดว่าใช้เวลา 4-5 ปี จะสามารถเอายางพาราออกจากพื้นที่ป่าสงวนฯได้หมด”นายธีรภัทร กล่าว



ขณะที่นายพิพัฒน์ ชนินทยุทธวงศ์ ผู้รักษาการแทน ผอ.องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กล่าวว่า ทาง อ.อ.ป.ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ทางรัฐบาลมีแนวคิดให้ อ.อ.ป.เป็นผู้รับซื้อไม้ยางพาราจากเกษตรกรในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก เพราะมีข้อจำกัดหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเงินทุนในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละปี อ.อ.ป.ได้รับงบประมาณเพียง 1,000 ล้านบาทเท่านั้น การจะไปรับซื้อไม้ยางพาราตนก็ไม่รู้ว่าจะเอาจากไหนไปซื้อ และจ่ายเงินให้ใคร และเงินจากการขายไม้ยางพาราจะนำไปใช้อย่างไร ซึ่งยังมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาว่าทำได้หรือไม่ หรืออาจจะเป็นตัวประสานงานให้พ่อค้าเอกชนมาตัดไม้โดยตรงก็คงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน  ในส่วนของ อ.อ.ป.มีพื้นที่ปลูกยางพารา 8 หมื่นไร่ โดยหากอายุมากกว่า 25 ปี ก็จะขายให้บริษัทที่รับซื้อไม้ไป แต่เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลหลังจากตัดฟันแล้ว อ.อ.ป.จะไม่ส่งเสริมให้ปลูกยางพาราเพิ่ม แต่ให้ปลูกไม้เศรษฐกิจชนิดอื่นแทน.




สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 18:26:14






จากกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) สั่งการในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดพื้นที่เพาะปลูกยางพารา 7 แสนไร่ ภายในระยะเวลา 7 ปี เพื่อให้ปริมาณการผลิตยางใกล้เคียงกับความต้องการของท้องตลาด โดยให้ดำเนินการเร่งด่วนในพื้นที่ป่าที่มีการบุกรุกเพื่อปลูกยางพารา เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ โดยให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) รับซื้อหรือตัดต้นยางไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ พร้อมทั้งมีมาตรการเยียวยาเกษตรกรผู้ปลูกยางพารานั้น

เมื่อวันที่ 6 ก.พ.นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมป่าไม้มีพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราในป่าสงวนฯ รวม 4,033,404 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 รวม 878,355 ไร่ และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 รวม 2,842,380 ไร่ ซึ่งได้มีแผนการดำเนินการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามหลักวิชาการ  โดยมาตรการเร่งด่วนจะดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายที่คดีเสร็จสิ้นแล้วให้รื้อถอนทันที (เอโอ 1 )  พื้นที่เอโอ 3 ซึ่งเป็นพื้นที่บุกรุกใหม่  ได้วางแผนรื้อถอนนำร่อง 10 จังหวัด โดยทั้ง 2 กลุ่ม เริ่มดำเนินการจากกลุ่มนายทุน และกรณีที่เป็นประชาชนทั่วไปให้ดำเนินการใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักและเตรียมมาตรการช่วยเหลือให้สามารถยังชีพได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยต้องประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.)  ตำรวจ ทหารและผู้นำชุมชน

"ภายในสัปดาห์นี้จะเริ่มดำเนินการตัดโค่นสวนยางพาราที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ   ในพื้นที่นำร่อง เช่น  จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์  เลย และจันทบุรี เป็นกลุ่มแรกที่จะเข้าไปดำเนินการ ซึ่งก่อนหน้านี้กรมป่าไม้ได้ใช้มาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในพื้นที่สวนยางที่บุกรุกป่ามาโดยตลอดอยู่แล้ว และสามารถเข้าไปดำเนินการได้ทันที แต่จากนี้จะมีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยจะเน้นในกลุ่มนายทุนรายใหญ่ที่ไปลงทุนปลูกยางพาราในพื้นที่ป่าสงวนฯ ทั้งนี้ในส่วนของกรมอุทยานฯ มีพื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราประมาณ 1 ล้านไร่ ขณะที่กรมป่าไม้มีประมาณ 4 ล้านไร่ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนคาดว่าใช้เวลา 4-5 ปี จะสามารถเอายางพาราออกจากพื้นที่ป่าสงวนฯได้หมด"นายธีรภัทร กล่าว

ขณะที่นายพิพัฒน์ ชนินทยุทธวงศ์ ผู้รักษาการแทน ผอ.องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กล่าวว่า ทาง อ.อ.ป.ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ทางรัฐบาลมีแนวคิดให้ อ.อ.ป.เป็นผู้รับซื้อไม้ยางพาราจากเกษตรกรในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก เพราะมีข้อจำกัดหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเงินทุนในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละปี อ.อ.ป.ได้รับงบประมาณเพียง 1,000 ล้านบาทเท่านั้น การจะไปรับซื้อไม้ยางพาราตนก็ไม่รู้ว่าจะเอาจากไหนไปซื้อ และจ่ายเงินให้ใคร และเงินจากการขายไม้ยางพาราจะนำไปใช้อย่างไร ซึ่งยังมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาว่าทำได้หรือไม่ หรืออาจจะเป็นตัวประสานงานให้พ่อค้าเอกชนมาตัดไม้โดยตรงก็คงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน  ในส่วนของ อ.อ.ป.มีพื้นที่ปลูกยางพารา 8 หมื่นไร่ โดยหากอายุมากกว่า 25 ปี ก็จะขายให้บริษัทที่รับซื้อไม้ไป แต่เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลหลังจากตัดฟันแล้ว อ.อ.ป.จะไม่ส่งเสริมให้ปลูกยางพาราเพิ่ม แต่ให้ปลูกไม้เศรษฐกิจชนิดอื่นแทน.


สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 18:26:14

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น