วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

[รีวิว] พัดลมไร้ใบพัด Dyson Cool AM08 Bladeless Fan


วันนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศมารีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้ากันบ้างครับ แต่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ธรรมดาเพราะมาจากแบรนด์ระดับโลกอย่าง Dyson ที่มีชื่อเสียงด้านนวัตกรรมและการออกแบบ โดยสินค้าที่ได้มารีวิวคราวนี้ก็แปลกใหม่เพราะมันคือ “พัดลม” ที่ไม่มี “ใบพัด”


รู้จักแบรนด์ Dyson


ก่อนจะเข้าเรื่องสินค้า ขอใช้โอกาสนี้แนะนำแบรนด์ Dyson ก่อนเผื่อใครไม่รู้จัก


Dyson (อ่านว่า “ไดสัน”) เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากอังกฤษ มีชื่อเสียงเรื่องเครื่องดูดฝุ่น บริษัทก่อตั้งโดยนักออกแบบชาวอังกฤษ James Dyson ในปี 1993


James Dyson เป็นนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในมาก่อน เขาจบการศึกษาจาก Royal College of Art ในกรุงลอนดอน จากนั้นหันมาสนใจงานด้านวิศวกรรมควบคู่ไปกับการออกแบบ


ตำนานการเกิดแบรนด์ Dyson เกิดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน เมื่อ James พบว่าเครื่องดูดฝุ่นที่ใช้งานอยู่มีปัญหาฝุ่นติดในถุงดักฝุ่น (dust bag) จนอุดตันและทำให้เครื่องดูดฝุ่นใช้งานไม่ได้ (ส่วนหนึ่งมาจากยุทธศาสตร์การขายถุงดักฝุ่นของบริษัทเครื่องดูดฝุ่น) เขาจึงคิดค้นหาวิธีพัฒนา “เครื่องดูดฝุ่นที่ดีกว่าที่เป็นอยู่”



James Dyson ใช้เวลาถึง 5 ปี (1979-1984) พัฒนาเครื่องดูดฝุ่นต้นแบบถึง 5,127 รุ่นกว่าจะบรรลุผล จากนั้นเขาก็เร่ขายสิทธิบัตรการออกแบบ ซึ่งก็ไม่มีบริษัทเครื่องดูดฝุ่นให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งไปเจอบริษัทญี่ปุ่นชื่อ Apex สนใจซื้อสิทธินำไปผลิตเป็นสินค้าในชื่อ G-Force วางขายในปี 1986 และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม


James นำเงินที่ได้จากค่าขายสิทธิมาตั้งบริษัท Dyson ในปี 1993 และหลังจากนั้นก็เน้นขายเครื่องดูดฝุ่น รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น เครื่องดูดฝุ่น พัดลม เครื่องเป่าลมให้มือแห้ง กลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ที่มีรายได้ปีละมากกว่า 6 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท)



เกียรติประวัติของ James Dyson ทำให้เขาได้บรรดาศักดิ์เป็นท่านเซอร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักออกแบบชาวอังกฤษคนหนึ่ง (ภายหลังถึงเพิ่ม Jonathan Ive มาอีกคน)


ตัวของ Dyson เคยให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทของเขาเป็นผู้นำเทร็นด์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวถังโปร่งใสก่อนแอปเปิล โดย Jonathan Ive มาซื้อเครื่องดูดฝุ่นโปร่งใสแล้วชอบ และขอให้ Dyson ส่งอีกเครื่องไปให้สตีฟ จ็อบส์ด้วย ซึ่งเขาก็ส่งให้ (แต่ Dyson ก็กล่าวแบบติดตลกว่าคนชอบคิดว่า Dyson ลอกแอปเปิลอยู่ดี)


Dyson Bladeless Fan


ผลิตภัณฑ์ของ Dyson ที่ Blognone ได้มารีวิวรอบนี้เป็น “พัดลมไร้ใบพัด” หรือ bladeless fan ที่หลายคนอาจเคยเป็นตามห้าง สถานที่ท่องเที่ยว หรือในภาพยนตร์มาก่อน (ชื่อทางการค้าจริงๆ คือ Dyson Air Multiplier)



พัดลมไร้ใบพัดของ Dyson ชูจุดขายว่าเป็นพัดลมที่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมือจะโดนใบพัดเหมือนพัดลมทั่วไป ในขณะเดียวกันก็ยังให้ลมแรงและทำงานเงียบ ถือเป็นพัดลมที่รวมจุดเด่นของพัดลมทุกประเภทเอาไว้



หลักการทำงานของพัดลม Dyson ต้องบอกว่าไม่ใช่ไร้ใบพัดซะทีเดียว แต่มันมีใบพัดเล็กๆ ซ่อนอยู่ในฐาน (ที่ออกแบบให้มีเสียงรบกวนน้อยมาก) ดูดลมจากฐานของพัดลมขึ้นมากระจายตามแนวโค้งของพัดลมอีกที



ตรงกรอบวงกลมจะมีช่องเล็กๆ สำหรับเป่าลมออก แต่เท่านั้นยังไม่พอ มันใช้หลักการความกดอากาศที่ไม่เท่ากัน (คล้ายกับการยกปีกเครื่องบิน) เพื่อดึงอากาศบริเวณรอบๆ กรอบวงกลมให้มาเป่าผู้ใช้งานอีกต่อหนึ่ง



อธิบายเป็นข้อความค่อนข้างยาก ดูวิดีโอกันดีกว่าครับ



คลิปที่สองเป็นภาพตัดขวางให้เห็นเส้นทางของลมแบบชัดๆ



อีกคลิปหนึ่งเป็น Sir James Dyson อธิบายหลักการทำงานเอง



Dyson AM08 Pedestal Fan


จบภาคทฤษฎีแล้วมาดูรีวิวของจริงกันเลยนะครับ พัดลมของ Dyson มีด้วยกันหลายรุ่นตามขนาดเล็กใหญ่ในภาพข้างต้น รุ่นที่เราได้มาคือ Dyson AM08 พัดลมวางพื้นคอยาว รุ่นใหญ่ที่สุดของบริษัทที่มีขายในปัจจุบัน ใช้กรอบวงกลมขนาด 16″


หน้าตาแบบเต็มๆ ก็ประมาณนี้ เผอิญเราไม่ได้ถ่ายรูปเทียบกับพัดลมตั้งพื้นปกติ แต่ขนาดก็ใกล้เคียงกัน


Dyson-Fanless-1


หน้าตาของตัวกรอบวงกลม จะเห็นช่องเล็กๆ สำหรับให้ลมพุ่งออกมาหาเรา


Dyson-Fanless-4


ด้านข้างครับ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่ายมาก


Dyson-Fanless-10


ตัวพัดลม AM08 ตอนส่งมาในกล่องมีทั้งหมด 4 ชิ้นคือ กรอบวงกลม คอ ฐานใบพัดพร้อมปลั๊ก และฐานวางชั้นล่างสุด


Dyson-Fanless-13


การประกอบง่ายมากๆ คือเอาแต่ละชิ้นมาเสียบแล้วบิดเล็กน้อยให้ลงล็อก ตามสติ๊กเกอร์ที่แปะมาให้แล้ว เสียบไฟ เท่านั้นจบ


Dyson-Fanless-8


Dyson-Fanless-12


หน้าตาของตัวฐานใบพัดเป็นแบบนี้ เราทำอะไรกับมันไม่ได้เลย ประกอบมาสำเร็จรูปแล้วจากโรงงาน


Dyson-Fanless-11


ตรงฐานล่างสุดมีปุ่มสำหรับเปิด พร้อมแสดงความแรง (1-10) พัดลมของ Dyson มีรีโมทมาให้ด้วย จะเปิดเองที่ฐานก็ได้ เปิดด้วยรีโมทก็ได้


Dyson-Fanless-6


หน้าตาของรีโมทจะ minimal แบบเดียวกับรีโมทของแอปเปิล คือมีปุ่มเปิด ปรับความแรง หันทิศ ตั้งเวลา เท่านั้นจบ


Dyson-Fanless-7


วิธีการเก็บรีโมทสามารถวางบนหัวพัดลมได้เลย มีแม่เหล็กดูดให้พร้อม ตัวรีโมทโค้งเล็กน้อยรับกับกรอบพัดลมอยู่แล้ว (คิดมาให้ดีแล้ว)


Dyson-Fanless-2


ประสบการณ์การใช้งาน


จากการใช้งานจริงพบว่ามันก็เป็น “พัดลม” ครับ คือทำหน้าที่พัดลมเข้าหาตัวเรา ตรงนี้ตอบโจทย์ความเป็นพัดลม


ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ คือเสียงค่อนข้างเงียบตามราคาคุย แต่ถ้าเปิดเบอร์ 10 แรงสุด เสียงก็ดังเหมือนกัน (เสียงจะคล้ายๆ พวกเครื่องเป่าผมมากกว่าเสียงพัดลม) การสั่งการด้วยรีโมทก็ใช้งานดีไม่มีปัญหาอะไร วิธีการเก็บรีโมทแบบนี้ช่วยให้หารีโมทง่าย ไม่ลืมว่ารีโมทอยู่ที่ไหน


ปัญหาที่พบมีข้อเดียวคือมันเป็นพัดลมเมืองฝรั่ง ทำให้เบอร์ 10 ที่แรงที่สุดยังสู้พัดลมใบพัดแบบดั้งเดิมไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครคิดจะซื้อมาเป่าแก้ร้อนเดือนเมษาอาจไม่ค่อยเวิร์คเท่าไร แต่ถ้าเป้าหมายคือซื้อสินค้ามีดีไซน์ มีนวัตกรรม ตั้งโชว์แล้วเท่ พัดลม Dyson ตอบโจทย์แน่นอน


พัดลม Dyson มีตัวแทนจำหน่ายในไทยแล้ว หาซื้อได้ตาม Power Buy หรือ Power Mall รวมถึงห้างสรรพสินค้าทั่วไป รุ่น AM08 ตัวนี้ผมเช็คราคาในไทยขายอยู่ 21,900 บาทครับ


สรุป


ข้อดี


  • หน้าตาหรูหราไฮโซ มีนวัตกรรม ซื้อมาตั้งแล้วดูเท่

  • เสียงเงียบ

  • สั่งงานด้วยรีโมทได้สะดวก

ข้อเสีย


  • ระดับแรงสุดมันยังแรงไม่สะใจคนไทย

  • ถ้าเปิดเบอร์สูงๆ เสียงก็ค่อนข้างดังเหมือนกัน

Get latest news form Blognone


สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยblognone.com ข่าวไอที
เวลาโพส2015-02-06 20:50:18





[รีวิว] พัดลมไร้ใบพัด Dyson Cool AM08 Bladeless Fan
https://www.blognone.com/sites/default/files/imagecache/news-thumbnail/news-thumbnails/dyson-icon.png


วันนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศมารีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้ากันบ้างครับ แต่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ธรรมดาเพราะมาจากแบรนด์ระดับโลกอย่าง Dyson ที่มีชื่อเสียงด้านนวัตกรรมและการออกแบบ โดยสินค้าที่ได้มารีวิวคราวนี้ก็แปลกใหม่เพราะมันคือ “พัดลม” ที่ไม่มี “ใบพัด”


รู้จักแบรนด์ Dyson


ก่อนจะเข้าเรื่องสินค้า ขอใช้โอกาสนี้แนะนำแบรนด์ Dyson ก่อนเผื่อใครไม่รู้จัก


Dyson (อ่านว่า “ไดสัน”) เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากอังกฤษ มีชื่อเสียงเรื่องเครื่องดูดฝุ่น บริษัทก่อตั้งโดยนักออกแบบชาวอังกฤษ James Dyson ในปี 1993


James Dyson เป็นนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในมาก่อน เขาจบการศึกษาจาก Royal College of Art ในกรุงลอนดอน จากนั้นหันมาสนใจงานด้านวิศวกรรมควบคู่ไปกับการออกแบบ


ตำนานการเกิดแบรนด์ Dyson เกิดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน เมื่อ James พบว่าเครื่องดูดฝุ่นที่ใช้งานอยู่มีปัญหาฝุ่นติดในถุงดักฝุ่น (dust bag) จนอุดตันและทำให้เครื่องดูดฝุ่นใช้งานไม่ได้ (ส่วนหนึ่งมาจากยุทธศาสตร์การขายถุงดักฝุ่นของบริษัทเครื่องดูดฝุ่น) เขาจึงคิดค้นหาวิธีพัฒนา “เครื่องดูดฝุ่นที่ดีกว่าที่เป็นอยู่”



James Dyson ใช้เวลาถึง 5 ปี (1979-1984) พัฒนาเครื่องดูดฝุ่นต้นแบบถึง 5,127 รุ่นกว่าจะบรรลุผล จากนั้นเขาก็เร่ขายสิทธิบัตรการออกแบบ ซึ่งก็ไม่มีบริษัทเครื่องดูดฝุ่นให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งไปเจอบริษัทญี่ปุ่นชื่อ Apex สนใจซื้อสิทธินำไปผลิตเป็นสินค้าในชื่อ G-Force วางขายในปี 1986 และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม


James นำเงินที่ได้จากค่าขายสิทธิมาตั้งบริษัท Dyson ในปี 1993 และหลังจากนั้นก็เน้นขายเครื่องดูดฝุ่น รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น เครื่องดูดฝุ่น พัดลม เครื่องเป่าลมให้มือแห้ง กลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ที่มีรายได้ปีละมากกว่า 6 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท)



เกียรติประวัติของ James Dyson ทำให้เขาได้บรรดาศักดิ์เป็นท่านเซอร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักออกแบบชาวอังกฤษคนหนึ่ง (ภายหลังถึงเพิ่ม Jonathan Ive มาอีกคน)


ตัวของ Dyson เคยให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทของเขาเป็นผู้นำเทร็นด์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวถังโปร่งใสก่อนแอปเปิล โดย Jonathan Ive มาซื้อเครื่องดูดฝุ่นโปร่งใสแล้วชอบ และขอให้ Dyson ส่งอีกเครื่องไปให้สตีฟ จ็อบส์ด้วย ซึ่งเขาก็ส่งให้ (แต่ Dyson ก็กล่าวแบบติดตลกว่าคนชอบคิดว่า Dyson ลอกแอปเปิลอยู่ดี)


Dyson Bladeless Fan


ผลิตภัณฑ์ของ Dyson ที่ Blognone ได้มารีวิวรอบนี้เป็น “พัดลมไร้ใบพัด” หรือ bladeless fan ที่หลายคนอาจเคยเป็นตามห้าง สถานที่ท่องเที่ยว หรือในภาพยนตร์มาก่อน (ชื่อทางการค้าจริงๆ คือ Dyson Air Multiplier)



พัดลมไร้ใบพัดของ Dyson ชูจุดขายว่าเป็นพัดลมที่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมือจะโดนใบพัดเหมือนพัดลมทั่วไป ในขณะเดียวกันก็ยังให้ลมแรงและทำงานเงียบ ถือเป็นพัดลมที่รวมจุดเด่นของพัดลมทุกประเภทเอาไว้



หลักการทำงานของพัดลม Dyson ต้องบอกว่าไม่ใช่ไร้ใบพัดซะทีเดียว แต่มันมีใบพัดเล็กๆ ซ่อนอยู่ในฐาน (ที่ออกแบบให้มีเสียงรบกวนน้อยมาก) ดูดลมจากฐานของพัดลมขึ้นมากระจายตามแนวโค้งของพัดลมอีกที



ตรงกรอบวงกลมจะมีช่องเล็กๆ สำหรับเป่าลมออก แต่เท่านั้นยังไม่พอ มันใช้หลักการความกดอากาศที่ไม่เท่ากัน (คล้ายกับการยกปีกเครื่องบิน) เพื่อดึงอากาศบริเวณรอบๆ กรอบวงกลมให้มาเป่าผู้ใช้งานอีกต่อหนึ่ง



อธิบายเป็นข้อความค่อนข้างยาก ดูวิดีโอกันดีกว่าครับ



คลิปที่สองเป็นภาพตัดขวางให้เห็นเส้นทางของลมแบบชัดๆ



อีกคลิปหนึ่งเป็น Sir James Dyson อธิบายหลักการทำงานเอง



Dyson AM08 Pedestal Fan


จบภาคทฤษฎีแล้วมาดูรีวิวของจริงกันเลยนะครับ พัดลมของ Dyson มีด้วยกันหลายรุ่นตามขนาดเล็กใหญ่ในภาพข้างต้น รุ่นที่เราได้มาคือ Dyson AM08 พัดลมวางพื้นคอยาว รุ่นใหญ่ที่สุดของบริษัทที่มีขายในปัจจุบัน ใช้กรอบวงกลมขนาด 16″


หน้าตาแบบเต็มๆ ก็ประมาณนี้ เผอิญเราไม่ได้ถ่ายรูปเทียบกับพัดลมตั้งพื้นปกติ แต่ขนาดก็ใกล้เคียงกัน


Dyson-Fanless-1


หน้าตาของตัวกรอบวงกลม จะเห็นช่องเล็กๆ สำหรับให้ลมพุ่งออกมาหาเรา


Dyson-Fanless-4


ด้านข้างครับ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่ายมาก


Dyson-Fanless-10


ตัวพัดลม AM08 ตอนส่งมาในกล่องมีทั้งหมด 4 ชิ้นคือ กรอบวงกลม คอ ฐานใบพัดพร้อมปลั๊ก และฐานวางชั้นล่างสุด


Dyson-Fanless-13


การประกอบง่ายมากๆ คือเอาแต่ละชิ้นมาเสียบแล้วบิดเล็กน้อยให้ลงล็อก ตามสติ๊กเกอร์ที่แปะมาให้แล้ว เสียบไฟ เท่านั้นจบ


Dyson-Fanless-8


Dyson-Fanless-12


หน้าตาของตัวฐานใบพัดเป็นแบบนี้ เราทำอะไรกับมันไม่ได้เลย ประกอบมาสำเร็จรูปแล้วจากโรงงาน


Dyson-Fanless-11


ตรงฐานล่างสุดมีปุ่มสำหรับเปิด พร้อมแสดงความแรง (1-10) พัดลมของ Dyson มีรีโมทมาให้ด้วย จะเปิดเองที่ฐานก็ได้ เปิดด้วยรีโมทก็ได้


Dyson-Fanless-6


หน้าตาของรีโมทจะ minimal แบบเดียวกับรีโมทของแอปเปิล คือมีปุ่มเปิด ปรับความแรง หันทิศ ตั้งเวลา เท่านั้นจบ


Dyson-Fanless-7


วิธีการเก็บรีโมทสามารถวางบนหัวพัดลมได้เลย มีแม่เหล็กดูดให้พร้อม ตัวรีโมทโค้งเล็กน้อยรับกับกรอบพัดลมอยู่แล้ว (คิดมาให้ดีแล้ว)


Dyson-Fanless-2


ประสบการณ์การใช้งาน


จากการใช้งานจริงพบว่ามันก็เป็น “พัดลม” ครับ คือทำหน้าที่พัดลมเข้าหาตัวเรา ตรงนี้ตอบโจทย์ความเป็นพัดลม


ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ คือเสียงค่อนข้างเงียบตามราคาคุย แต่ถ้าเปิดเบอร์ 10 แรงสุด เสียงก็ดังเหมือนกัน (เสียงจะคล้ายๆ พวกเครื่องเป่าผมมากกว่าเสียงพัดลม) การสั่งการด้วยรีโมทก็ใช้งานดีไม่มีปัญหาอะไร วิธีการเก็บรีโมทแบบนี้ช่วยให้หารีโมทง่าย ไม่ลืมว่ารีโมทอยู่ที่ไหน


ปัญหาที่พบมีข้อเดียวคือมันเป็นพัดลมเมืองฝรั่ง ทำให้เบอร์ 10 ที่แรงที่สุดยังสู้พัดลมใบพัดแบบดั้งเดิมไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครคิดจะซื้อมาเป่าแก้ร้อนเดือนเมษาอาจไม่ค่อยเวิร์คเท่าไร แต่ถ้าเป้าหมายคือซื้อสินค้ามีดีไซน์ มีนวัตกรรม ตั้งโชว์แล้วเท่ พัดลม Dyson ตอบโจทย์แน่นอน


พัดลม Dyson มีตัวแทนจำหน่ายในไทยแล้ว หาซื้อได้ตาม Power Buy หรือ Power Mall รวมถึงห้างสรรพสินค้าทั่วไป รุ่น AM08 ตัวนี้ผมเช็คราคาในไทยขายอยู่ 21,900 บาทครับ


สรุป


ข้อดี


  • หน้าตาหรูหราไฮโซ มีนวัตกรรม ซื้อมาตั้งแล้วดูเท่

  • เสียงเงียบ

  • สั่งงานด้วยรีโมทได้สะดวก

ข้อเสีย


  • ระดับแรงสุดมันยังแรงไม่สะใจคนไทย

  • ถ้าเปิดเบอร์สูงๆ เสียงก็ค่อนข้างดังเหมือนกัน

Get latest news form Blognone


สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยblognone.com ข่าวไอที
เวลาโพส2015-02-06 20:50:18




วันนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศมารีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้ากันบ้างครับ แต่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ธรรมดาเพราะมาจากแบรนด์ระดับโลกอย่าง Dyson ที่มีชื่อเสียงด้านนวัตกรรมและการออกแบบ โดยสินค้าที่ได้มารีวิวคราวนี้ก็แปลกใหม่เพราะมันคือ "พัดลม" ที่ไม่มี "ใบพัด"


รู้จักแบรนด์ Dyson


ก่อนจะเข้าเรื่องสินค้า ขอใช้โอกาสนี้แนะนำแบรนด์ Dyson ก่อนเผื่อใครไม่รู้จัก


Dyson (อ่านว่า "ไดสัน") เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากอังกฤษ มีชื่อเสียงเรื่องเครื่องดูดฝุ่น บริษัทก่อตั้งโดยนักออกแบบชาวอังกฤษ James Dyson ในปี 1993


James Dyson เป็นนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในมาก่อน เขาจบการศึกษาจาก Royal College of Art ในกรุงลอนดอน จากนั้นหันมาสนใจงานด้านวิศวกรรมควบคู่ไปกับการออกแบบ


ตำนานการเกิดแบรนด์ Dyson เกิดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน เมื่อ James พบว่าเครื่องดูดฝุ่นที่ใช้งานอยู่มีปัญหาฝุ่นติดในถุงดักฝุ่น (dust bag) จนอุดตันและทำให้เครื่องดูดฝุ่นใช้งานไม่ได้ (ส่วนหนึ่งมาจากยุทธศาสตร์การขายถุงดักฝุ่นของบริษัทเครื่องดูดฝุ่น) เขาจึงคิดค้นหาวิธีพัฒนา "เครื่องดูดฝุ่นที่ดีกว่าที่เป็นอยู่"



James Dyson ใช้เวลาถึง 5 ปี (1979-1984) พัฒนาเครื่องดูดฝุ่นต้นแบบถึง 5,127 รุ่นกว่าจะบรรลุผล จากนั้นเขาก็เร่ขายสิทธิบัตรการออกแบบ ซึ่งก็ไม่มีบริษัทเครื่องดูดฝุ่นให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งไปเจอบริษัทญี่ปุ่นชื่อ Apex สนใจซื้อสิทธินำไปผลิตเป็นสินค้าในชื่อ G-Force วางขายในปี 1986 และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม


James นำเงินที่ได้จากค่าขายสิทธิมาตั้งบริษัท Dyson ในปี 1993 และหลังจากนั้นก็เน้นขายเครื่องดูดฝุ่น รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น เครื่องดูดฝุ่น พัดลม เครื่องเป่าลมให้มือแห้ง กลายเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ที่มีรายได้ปีละมากกว่า 6 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท)



เกียรติประวัติของ James Dyson ทำให้เขาได้บรรดาศักดิ์เป็นท่านเซอร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักออกแบบชาวอังกฤษคนหนึ่ง (ภายหลังถึงเพิ่ม Jonathan Ive มาอีกคน)


ตัวของ Dyson เคยให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทของเขาเป็นผู้นำเทร็นด์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวถังโปร่งใสก่อนแอปเปิล โดย Jonathan Ive มาซื้อเครื่องดูดฝุ่นโปร่งใสแล้วชอบ และขอให้ Dyson ส่งอีกเครื่องไปให้สตีฟ จ็อบส์ด้วย ซึ่งเขาก็ส่งให้ (แต่ Dyson ก็กล่าวแบบติดตลกว่าคนชอบคิดว่า Dyson ลอกแอปเปิลอยู่ดี)


Dyson Bladeless Fan


ผลิตภัณฑ์ของ Dyson ที่ Blognone ได้มารีวิวรอบนี้เป็น "พัดลมไร้ใบพัด" หรือ bladeless fan ที่หลายคนอาจเคยเป็นตามห้าง สถานที่ท่องเที่ยว หรือในภาพยนตร์มาก่อน (ชื่อทางการค้าจริงๆ คือ Dyson Air Multiplier)



พัดลมไร้ใบพัดของ Dyson ชูจุดขายว่าเป็นพัดลมที่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมือจะโดนใบพัดเหมือนพัดลมทั่วไป ในขณะเดียวกันก็ยังให้ลมแรงและทำงานเงียบ ถือเป็นพัดลมที่รวมจุดเด่นของพัดลมทุกประเภทเอาไว้



หลักการทำงานของพัดลม Dyson ต้องบอกว่าไม่ใช่ไร้ใบพัดซะทีเดียว แต่มันมีใบพัดเล็กๆ ซ่อนอยู่ในฐาน (ที่ออกแบบให้มีเสียงรบกวนน้อยมาก) ดูดลมจากฐานของพัดลมขึ้นมากระจายตามแนวโค้งของพัดลมอีกที



ตรงกรอบวงกลมจะมีช่องเล็กๆ สำหรับเป่าลมออก แต่เท่านั้นยังไม่พอ มันใช้หลักการความกดอากาศที่ไม่เท่ากัน (คล้ายกับการยกปีกเครื่องบิน) เพื่อดึงอากาศบริเวณรอบๆ กรอบวงกลมให้มาเป่าผู้ใช้งานอีกต่อหนึ่ง



อธิบายเป็นข้อความค่อนข้างยาก ดูวิดีโอกันดีกว่าครับ



คลิปที่สองเป็นภาพตัดขวางให้เห็นเส้นทางของลมแบบชัดๆ



อีกคลิปหนึ่งเป็น Sir James Dyson อธิบายหลักการทำงานเอง



Dyson AM08 Pedestal Fan


จบภาคทฤษฎีแล้วมาดูรีวิวของจริงกันเลยนะครับ พัดลมของ Dyson มีด้วยกันหลายรุ่นตามขนาดเล็กใหญ่ในภาพข้างต้น รุ่นที่เราได้มาคือ Dyson AM08 พัดลมวางพื้นคอยาว รุ่นใหญ่ที่สุดของบริษัทที่มีขายในปัจจุบัน ใช้กรอบวงกลมขนาด 16"


หน้าตาแบบเต็มๆ ก็ประมาณนี้ เผอิญเราไม่ได้ถ่ายรูปเทียบกับพัดลมตั้งพื้นปกติ แต่ขนาดก็ใกล้เคียงกัน


Dyson-Fanless-1


หน้าตาของตัวกรอบวงกลม จะเห็นช่องเล็กๆ สำหรับให้ลมพุ่งออกมาหาเรา


Dyson-Fanless-4


ด้านข้างครับ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่ายมาก


Dyson-Fanless-10


ตัวพัดลม AM08 ตอนส่งมาในกล่องมีทั้งหมด 4 ชิ้นคือ กรอบวงกลม คอ ฐานใบพัดพร้อมปลั๊ก และฐานวางชั้นล่างสุด


Dyson-Fanless-13


การประกอบง่ายมากๆ คือเอาแต่ละชิ้นมาเสียบแล้วบิดเล็กน้อยให้ลงล็อก ตามสติ๊กเกอร์ที่แปะมาให้แล้ว เสียบไฟ เท่านั้นจบ


Dyson-Fanless-8


Dyson-Fanless-12


หน้าตาของตัวฐานใบพัดเป็นแบบนี้ เราทำอะไรกับมันไม่ได้เลย ประกอบมาสำเร็จรูปแล้วจากโรงงาน


Dyson-Fanless-11


ตรงฐานล่างสุดมีปุ่มสำหรับเปิด พร้อมแสดงความแรง (1-10) พัดลมของ Dyson มีรีโมทมาให้ด้วย จะเปิดเองที่ฐานก็ได้ เปิดด้วยรีโมทก็ได้


Dyson-Fanless-6


หน้าตาของรีโมทจะ minimal แบบเดียวกับรีโมทของแอปเปิล คือมีปุ่มเปิด ปรับความแรง หันทิศ ตั้งเวลา เท่านั้นจบ


Dyson-Fanless-7


วิธีการเก็บรีโมทสามารถวางบนหัวพัดลมได้เลย มีแม่เหล็กดูดให้พร้อม ตัวรีโมทโค้งเล็กน้อยรับกับกรอบพัดลมอยู่แล้ว (คิดมาให้ดีแล้ว)


Dyson-Fanless-2


ประสบการณ์การใช้งาน


จากการใช้งานจริงพบว่ามันก็เป็น "พัดลม" ครับ คือทำหน้าที่พัดลมเข้าหาตัวเรา ตรงนี้ตอบโจทย์ความเป็นพัดลม


ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ คือเสียงค่อนข้างเงียบตามราคาคุย แต่ถ้าเปิดเบอร์ 10 แรงสุด เสียงก็ดังเหมือนกัน (เสียงจะคล้ายๆ พวกเครื่องเป่าผมมากกว่าเสียงพัดลม) การสั่งการด้วยรีโมทก็ใช้งานดีไม่มีปัญหาอะไร วิธีการเก็บรีโมทแบบนี้ช่วยให้หารีโมทง่าย ไม่ลืมว่ารีโมทอยู่ที่ไหน


ปัญหาที่พบมีข้อเดียวคือมันเป็นพัดลมเมืองฝรั่ง ทำให้เบอร์ 10 ที่แรงที่สุดยังสู้พัดลมใบพัดแบบดั้งเดิมไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครคิดจะซื้อมาเป่าแก้ร้อนเดือนเมษาอาจไม่ค่อยเวิร์คเท่าไร แต่ถ้าเป้าหมายคือซื้อสินค้ามีดีไซน์ มีนวัตกรรม ตั้งโชว์แล้วเท่ พัดลม Dyson ตอบโจทย์แน่นอน


พัดลม Dyson มีตัวแทนจำหน่ายในไทยแล้ว หาซื้อได้ตาม Power Buy หรือ Power Mall รวมถึงห้างสรรพสินค้าทั่วไป รุ่น AM08 ตัวนี้ผมเช็คราคาในไทยขายอยู่ 21,900 บาทครับ


สรุป


ข้อดี


  • หน้าตาหรูหราไฮโซ มีนวัตกรรม ซื้อมาตั้งแล้วดูเท่

  • เสียงเงียบ

  • สั่งงานด้วยรีโมทได้สะดวก

ข้อเสีย


  • ระดับแรงสุดมันยังแรงไม่สะใจคนไทย

  • ถ้าเปิดเบอร์สูงๆ เสียงก็ค่อนข้างดังเหมือนกัน










Get latest news form Blognone



สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยblognone.com ข่าวไอที
เวลาโพส2015-02-06 20:50:18

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น