วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลวิจัยพบรังปลวกลดผลกระทบปัญหาโลกร้อน




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่า วารสารวิชาการ ซายแอนซ์ เผยแพร่ผลงานวิจัยของ นางคอรินา ตาร์นิตา ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ของสหรัฐ เกี่ยวกับบทบาทของปลวกในพื้นที่แห้งแล้ง ระบุว่า รังปลวกมีส่วนช่วยในการชะลอและยับยั้งการแปรสภาพของพื้นที่ไปสู่ทะเลทราย ไม่ว่าจะเป็นเขตทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าสะวันนา หรือเขตภูมิอากาศแห้งแล้ง ทั้งในแอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเชีย เพราะนอกจากรังปลวกจะเป็นแหล่งกักเก็บความชื้นและสารอาหารแล้ว ลักษณะที่เป็นโพรงจำนวนมหาศาลยังช่วยให้น้ำแทรกไปในชั้นดินได้ดีขึ้นด้วย โดยจากการศึกษาพบว่า แม้จะมีปริมาณน้ำฝนเท่าๆ กันในพื้นที่แห้งแล้ง แต่กลับมีพืชเติบโตแค่ในบริเวณใกล้เคียงรังปลวก



นายเจฟ ฮิวส์แมน นักนิเวศวิทยาเชิงทฤษฎี และผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาของน้ำ จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า แม้แต่ในสภาพภูมิประเทศที่เข้าสู่ภาวะแห้งแล้งจนพืชไม่สามารถเติบโตได้อีกต่อไป รังปลวกก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิประเทศจุดนั้นมีการฟื้นคืนสภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ข้อบ่งชี้ 5 ขั้น ถึงการแปรสภาพเป็นทะเลทรายตามทฤษฎีในอดีตยังคงมีช่องโหว่ เนื่องจากไม่ได้มีการนำความซับซ้อนทางธรรมชาติในจุดนี้ไปประกอบการพิจารณาด้วย โดยประเมินเพียงลักษณะและศักยภาพในการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ดังกล่าวเท่านั้น



ดังนั้นแล้ว การประเมินลักษณะทางภูมิอากาศของพื้นที่ ควรคำนึงถึงผลกระทบในเชิงระบบจากสัตว์บางประเภท เช่น ปลวกและหอยแมลงภู่ ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมของตนเอง และสัตว์อย่างมด แพร์รีด็อก โกเฟอร์ และสัตว์ขุดโพรงชนิดอื่นๆ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ โดย โรเบิร์ต พริงเกิล ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาวิวัฒนาการและนิเวศวิทยา ซึ่งร่วมในการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า ปลวกทำหน้าที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวของระบบนิเวศในหลายทาง ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตในระบบ รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วย.


ขอบคุณภาพจาก www.nozzlenolen.com



สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 22:45:10





ผลวิจัยพบรังปลวกลดผลกระทบปัญหาโลกร้อน
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/956565.jpeg




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่า วารสารวิชาการ ซายแอนซ์ เผยแพร่ผลงานวิจัยของ นางคอรินา ตาร์นิตา ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ของสหรัฐ เกี่ยวกับบทบาทของปลวกในพื้นที่แห้งแล้ง ระบุว่า รังปลวกมีส่วนช่วยในการชะลอและยับยั้งการแปรสภาพของพื้นที่ไปสู่ทะเลทราย ไม่ว่าจะเป็นเขตทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าสะวันนา หรือเขตภูมิอากาศแห้งแล้ง ทั้งในแอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเชีย เพราะนอกจากรังปลวกจะเป็นแหล่งกักเก็บความชื้นและสารอาหารแล้ว ลักษณะที่เป็นโพรงจำนวนมหาศาลยังช่วยให้น้ำแทรกไปในชั้นดินได้ดีขึ้นด้วย โดยจากการศึกษาพบว่า แม้จะมีปริมาณน้ำฝนเท่าๆ กันในพื้นที่แห้งแล้ง แต่กลับมีพืชเติบโตแค่ในบริเวณใกล้เคียงรังปลวก



นายเจฟ ฮิวส์แมน นักนิเวศวิทยาเชิงทฤษฎี และผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาของน้ำ จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า แม้แต่ในสภาพภูมิประเทศที่เข้าสู่ภาวะแห้งแล้งจนพืชไม่สามารถเติบโตได้อีกต่อไป รังปลวกก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิประเทศจุดนั้นมีการฟื้นคืนสภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ข้อบ่งชี้ 5 ขั้น ถึงการแปรสภาพเป็นทะเลทรายตามทฤษฎีในอดีตยังคงมีช่องโหว่ เนื่องจากไม่ได้มีการนำความซับซ้อนทางธรรมชาติในจุดนี้ไปประกอบการพิจารณาด้วย โดยประเมินเพียงลักษณะและศักยภาพในการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ดังกล่าวเท่านั้น



ดังนั้นแล้ว การประเมินลักษณะทางภูมิอากาศของพื้นที่ ควรคำนึงถึงผลกระทบในเชิงระบบจากสัตว์บางประเภท เช่น ปลวกและหอยแมลงภู่ ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมของตนเอง และสัตว์อย่างมด แพร์รีด็อก โกเฟอร์ และสัตว์ขุดโพรงชนิดอื่นๆ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ โดย โรเบิร์ต พริงเกิล ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาวิวัฒนาการและนิเวศวิทยา ซึ่งร่วมในการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า ปลวกทำหน้าที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวของระบบนิเวศในหลายทาง ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตในระบบ รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วย.


ขอบคุณภาพจาก www.nozzlenolen.com



สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 22:45:10






สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่า วารสารวิชาการ ซายแอนซ์ เผยแพร่ผลงานวิจัยของ นางคอรินา ตาร์นิตา ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ของสหรัฐ เกี่ยวกับบทบาทของปลวกในพื้นที่แห้งแล้ง ระบุว่า รังปลวกมีส่วนช่วยในการชะลอและยับยั้งการแปรสภาพของพื้นที่ไปสู่ทะเลทราย ไม่ว่าจะเป็นเขตทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าสะวันนา หรือเขตภูมิอากาศแห้งแล้ง ทั้งในแอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเชีย เพราะนอกจากรังปลวกจะเป็นแหล่งกักเก็บความชื้นและสารอาหารแล้ว ลักษณะที่เป็นโพรงจำนวนมหาศาลยังช่วยให้น้ำแทรกไปในชั้นดินได้ดีขึ้นด้วย โดยจากการศึกษาพบว่า แม้จะมีปริมาณน้ำฝนเท่าๆ กันในพื้นที่แห้งแล้ง แต่กลับมีพืชเติบโตแค่ในบริเวณใกล้เคียงรังปลวก

นายเจฟ ฮิวส์แมน นักนิเวศวิทยาเชิงทฤษฎี และผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาของน้ำ จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า แม้แต่ในสภาพภูมิประเทศที่เข้าสู่ภาวะแห้งแล้งจนพืชไม่สามารถเติบโตได้อีกต่อไป รังปลวกก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิประเทศจุดนั้นมีการฟื้นคืนสภาพได้ง่ายขึ้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ข้อบ่งชี้ 5 ขั้น ถึงการแปรสภาพเป็นทะเลทรายตามทฤษฎีในอดีตยังคงมีช่องโหว่ เนื่องจากไม่ได้มีการนำความซับซ้อนทางธรรมชาติในจุดนี้ไปประกอบการพิจารณาด้วย โดยประเมินเพียงลักษณะและศักยภาพในการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ดังกล่าวเท่านั้น

ดังนั้นแล้ว การประเมินลักษณะทางภูมิอากาศของพื้นที่ ควรคำนึงถึงผลกระทบในเชิงระบบจากสัตว์บางประเภท เช่น ปลวกและหอยแมลงภู่ ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมของตนเอง และสัตว์อย่างมด แพร์รีด็อก โกเฟอร์ และสัตว์ขุดโพรงชนิดอื่นๆ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ โดย โรเบิร์ต พริงเกิล ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาวิวัฒนาการและนิเวศวิทยา ซึ่งร่วมในการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า ปลวกทำหน้าที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวของระบบนิเวศในหลายทาง ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตในระบบ รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วย.

ขอบคุณภาพจาก www.nozzlenolen.com


สำนักข่าวWiFi Phitsanulok

ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th
เวลาโพส2015-02-06 22:45:10

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น