วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

นักวิทย์ฯเจ๋ง วัดรอบวงโคจรดาวในระบบสุริยะอื่นสำเร็จ


 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ว่า นักวิทยาศาสตร์จากอีโซใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง (วีแอลที) จากหอดูดาวในชิลี สังเกตุการณ์ดาวเคราะห์ “เบตา พิคทอริส บี” ในระบบสุริยะ เบตา พิคทอริส ที่ถูกค้นพบเมื่อราว 6 ปีก่อน อยู่ห่างจากโลก63 ปีแสง ดาวดวงดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา 16 เท่า และใหญ่กว่าดาวโลกถึง 3,000 เท่า แต่ 1 วันของดาวเบตา พิคทอริส บีมีระยะเวลาเพียงแค่ 8 ชั่วโมงเท่านั้น

    ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์จากอีโซกล่าวว่า จากดาวเบตา พิคทอริส บีมีรอบการหมุนโคจรเร็วที่สุดในบรรดาดวงดาวทั้งหมดในระบบสุริยะที่มนุษย์อาศัย คือมีอัตราเร็วของวงโคจรที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เบตา พิคทอริสเร็วถึง 25 กิโลเมตร/วินาทีหรือคิดเป็น 90,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งนี้ บทความเกี่ยวกับการค้นพบดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อัดง “เนเจอร์” ทีมสำรวจเผยว่า พวกเขาใช้กล้องศึกษาสเป็กตรัมตรวจจับช่วงความยาวคลื่นของรังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงดาวเพื่อวัดอัตราเร็วในการหมุนโคจร

    นอกจากนี้ ทางทีมยังมีความเห็นว่า ดาวเบตา พิคทอริส บีอาจมีอัตราเร็วในการโคจรเร็วถึง 50 กิโลเมตร/วินาที แต่เนื่องจากดาวยังเป็นดาวที่มีอายุน้อย อัตราเร็วของการโคจรของมันอาจเพิ่มมากขึ้นเมื่อมันหดตัวลงเหลือขนาดเท่าดาวพฤหัสบดีของระบบสุริยะในอีกหลายร้อยล้านปีถัดไป

สำนักข่าวWiFi Phitsanulok



ขอบคุณที่มาของข่าวโดยdailynews.co.th


เวลาโพส2014-05-01 15:07:17

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น